Page 261 - kpi15476
P. 261

2 0     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  อย่างปรับสภาพให้เหมาะสมไปกับกาลสมัยไปเรื่อยๆ”


                       เมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง ราชาธิปไตยได้สูญสลายในประเทศเนปาล เข้าใจว่าเป็นเพราะความกลัว
                  ภัยคุกคามจากพวกเมาอิสต์ ราชาธิบดีเลยมาถือครองอำนาจทางการเมืองด้วยพระองค์เอง
                  มาบัญชาการรบร่วมกับฝ่ายทหารผู้จงรักภักดี ไม่วางพระทัยฝ่ายพลเรือน นักการเมือง หรือ

                  ภาคประชาสังคม ดังนั้น เมื่อฝ่ายเมาอิสต์กับฝ่ายการเมืองและภาคประชาสังคมตกลงกันได้ และ
                  รวมตัวกันเป็นแนวร่วมต่อต้านพระองค์ แม้กองทัพเองก็ไม่อาจช่วยพระองค์รักษาราชบัลลังก์ไว้ได้


                       ในเรื่องการเข้ามาพัวพันทางการเมืองของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยหลังการเปลี่ยนแปลง
                  การปกครองปี พ.ศ. 2475 นั้น คงต้องยกประโยชน์ในข้อสงสัยซึ่งอาจเกิดขึ้นในบางครั้ง เช่นใน

                  กรณีกบฏบวรเดช กรณีปราบปรามนักศึกษาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ทั้งนี้เพราะโดยรวมแล้ว
                  สถาบันฯพยายามที่จะอยู่ห่างจากการเข้าไปพัวพันกับการเมือง อย่างไรก็ดี ในวิกฤติความขัดแย้ง

                  ปัจจุบันนับแต่ พ.ศ. 2548 มีการกล่าวว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองพยายามนำสถาบันฯมาสนับ
                  สนุนฝ่ายตน จนเกิดเป็นการรับรู้ (perception) ของคนจำนวนมากในสังคม ดังจะเห็นได้จากสรุป
                  รายงานผลการดำเนินงาน “พูดจาหาทางออกประเทศไทย 108 เวที” ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการ

                  ประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและ
                  ค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) ระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน – 28

                  กรกฎาคม 2556 โดยสรุปรายงานดังกล่าวได้แจงผลจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 58,183 คนว่า
                  ร้อยละ 57.1 เห็นว่า “การกล่าวอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อประโยชน์ทางการเมือง” เป็นหนึ่ง
                  ใน 10 ปัญหาหลักของสังคมไทย



                  ราชาธิปไตย: การรักษาด้วยรากฐานแห่งภูมิปัญญา



                       ดูเหมือนว่าภัยต่อราชาธิปไตยอาจมิได้มาแต่ความกลัวอย่างเดียว แต่อาจมาแต่ความภูมิใจ

                  ในความดีงามของฝ่ายตนในอดีต จึงอยากขอเสนอว่า จะเป็นประโยชน์หรือไม่หากจะได้มีการ
                  ศึกษาข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ โดยไม่เน้นแต่เฉพาะความดีงามหากศึกษาความไม่ดีงามเป็น
                  บทเรียนด้วย นอกจากนี้ยังควรศึกษาราชวงศ์อื่นๆ ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยแห่ง

                  โลกาภิวัตน์ ศึกษาเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการดำรงไว้ซึ่งราชาธิปไตยอย่างมีเหตุผล รวมทั้ง
                  การสร้างความกลมกลืน (harmony) ระหว่างราชาธิปไตยและประชาธิปไตยด้วย


                                                                                                     10
                       ในเรื่องการปรับตัวนั้น ขออ้างสุลักษณ์อีกครั้งในเรื่องการปรับตัวของราชวงศ์อังกฤษ  ดังนี้
                  “ทางอังกฤษ ถึงแม้พระเจ้ายอร์ชที่ 5 จะทรงรักษาสถานะของพระราชาธิบดีไว้ ก็ทรงยอมผ่อน

                  ปรนจนอังกฤษเป็นประชาธิปไตยไปยิ่งขึ้นเรื่อยๆ กล่าวคือพระมหากษัตริย์เพียงรักษาสถาบันของ
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   กันไปเอง โดยไม่ทรงขัดกับบุคคลพวกนั้นในเชิงรัฐประศาสโนบายเอาเลย ... หากทรงขัดขืน
                  พระองค์ ผ่านสถาบันครอบครัวของพระองค์นั้นแลเป็นสำคัญ นอกเหนือจากนั้น นักการเมืองว่า



                  นักการเมืองไว้แต่ในทางจริยธรรมและราชประเพณีเท่านั้น”





                     10
                        ส.ศิวรักษ์; เพิ่งอ้าง น.31
   256   257   258   259   260   261   262   263   264   265   266