Page 260 - kpi15476
P. 260
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 259
ราชาธิปไตยกับความกลัว
กล่าวโดยเฉพาะในประเด็นราชาธิปไตยและประชาธิปไตยที่กำลังวิเคราะห์อยู่ในขณะนี้
ความกลัวน่าจะมาจากฝ่ายราชาธิปไตยมากกว่า ถ้าพิจารณาข้อมูลในปัจจุบัน ประเทศในระบอบ
ราชาธิปไตยเกือบทั้งหมดก็เป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและไม่มีแนวโน้มว่าจะกลับสู่ระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในบรรดาประเทศประมาณ 200 ประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การ
สหประชาชาติ มีประมาณ 40 ประเทศที่มีกษัตริย์เป็นประมุข ในจำนวนนี้ 15 ประเทศอยู่ใน
เครือจักรภพซึ่งยอมรับในเชิงสัญลักษณ์ว่ากษัตริย์ของอังกฤษทรงเป็นประมุขของประเทศของตน
ในทางประวัติศาสตร์ ตลอดช่วงหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา มีประเทศประมาณ 20 ประเทศที่เปลี่ยน
จากราชาธิปไตยเป็นสาธารณรัฐ ขณะที่มีเพียง 3 ประเทศที่ก่อตั้งระบอบราชาธิปไตย (ซาอุดิ
อาราเบีย) หรือฟื้นฟูระบอบราชาธิปไตย (สเปนและกัมพูชา) ขึ้นมา
8
จึงเป็นธรรมดาอยู่เองที่ฝ่ายราชาธิปไตยในประเทศไทย จะมีความกลัวภัย ทั้งมรณภัย
(การสูญสลาย) และทุคติภัย (การเดินสู่ทางที่ผิด) ในอนาคต ฝ่ายประชาธิปไตยสมบูรณ์อาจ
ถือว่าตนอยู่ในกระแสการเปลี่ยนแปลงของประวัติศาสตร์ก็เป็นได้ หากเป็นเช่นนี้ ฝ่าย
ประชาธิปไตยกลับจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ที่จะไม่สร้างวาทกรรมหรือมีการกระทำที่ไป
ตอกย้ำความกลัวของฝ่ายราชาธิปไตย ส่วนฝ่ายราชาธิปไตยก็พึงระวังว่าจะเข้าลักษณะ ‘การทำให้
การทำนายของตนเป็นจริงเสียเอง’ (self-fulfilling prophecy) หมายถึงการทำนายว่ามีศัตรู
แล้วไปเบียดเบียนเขาจนเขาต้องตอบโต้ จนเกิดความเชื่อมั่นเหมาะว่าการตอบโต้พิสูจน์คำทำนาย
ว่าเขาเป็นศัตรูจริง
อันที่จริง ส่วนมาก ‘ศัตรู’ อาจได้แก่ตัวเราเอง ดังตัวอย่างความระแวงดังกล่าว อีกด้านหนึ่ง
คือความแข็งตัวทางความคิด รับฟังและเชื่อแต่ฝ่ายตน ไม่รับฟังฝ่ายอื่น ซึ่งหมายถึงผู้เห็นต่าง
รวมทั้งกัลยาณมิตรผู้ไม่ประจบประแจง สุลักษณ์ เขียนเล่าถึงสมัยสิ้นราชวงศ์โรมานอฟแห่ง
9
รัสเซียว่า “ทราบแต่ว่าเมื่อเสวยราชย์เป็นรัชกาลที่ 6 แลพอทรงทราบว่าสมาชิกในราชวงศ์
โรมานอฟถูกประหารชีวิตไปเสียมาก ถึงกับตกพระราชหฤทัย ตรัสถามพระราชอนุชาถึงเหตุผล
ต้นปลาย ทูลกระหม่อมเล็กกราบทูลว่า ที่สุดแห่งราชวงศ์โรมานอฟนั้นเกิดมาแต่ความผิดของ
พระเจ้าซาร์เอง เพราะมัวทรงรับฟังแต่จากปากคำพวกหัวเก่าที่เป็นฝ่ายจารีตนิยม ที่จริงคนพวกนี้
เป็นฝ่ายพระราชาอยู่แล้ว ไม่จำเป็นที่ต้องทรงฟังคำสรรเสริญเยินยอของพวกนี้เลย เพราะความ
อยู่ดีกินดีของพวกนี้ขึ้นอยู่กับสถาบันกษัตริย์ เสียดายที่พระเจ้าซาร์ไม่ทรงฟังพวกหัวก้าวหน้า
พวกนี้ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาพระบารมีพระเจ้าแผ่นดิน หากเขาต้องการความไพบูลย์ของประเทศ
ชาติและประชาชน ถ้าพระราชาฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ของคนพวกนี้ แล้วปรับสถานะของสถาบัน
กษัตริย์ให้สอดคล้องกับคำวิจารณ์ของพวกหัวก้าวหน้า พวกนี้ก็จะหันมาเข้าข้างพระราชา จักได้
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยไม่แตกแยกเป็นเสี่ยงๆ เมื่อเป็นเช่นนั้น พระราชวงศ์ก็ยังดำรงอยู่ได้
8 นาธาเนียล ฮาร์ริส เขียน โคทม อารียา แปล, 2555; ระบอบการปกครอง: ราชาธิปไตย; กรุงเทพฯ ปาเจรา,
น. 24-30 เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
9 ส.ศิวรักษ์ แปลและเรียบเรียง, 2536; ความเข้าใจในเรื่องราชาธิปไตย; กรุงเทพฯ, บริษัทส่องสยาม. น. 62-3