Page 280 - kpi15476
P. 280
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 2 9
ทั้งแบบ classical และ modern ที่ให้ความสำคัญกับข้อมูลทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพนั้น
ผู้เขียนจึงเห็นว่า น่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะช่วยทำให้การศึกษาและการอธิบายการเมืองไทย
สมัยประชาธิปไตยในเชิงกลุ่มเป็นไปอย่างเป็นระบบและรอบด้าน ที่ลงลึกไปถึงรากของกลุ่ม
การเมืองแต่ละกลุ่ม และสามารถให้คำตอบทางการเมืองในระดับพื้นฐานเกี่ยวกับปัญหาความ
ขัดแย้งและแนวโน้มการต่อสู้ทางการเมืองของแต่ละกลุ่ม รวมทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงปัญหา
การเมืองระดับโครงสร้างและเชิงวัฒนธรรม ที่เกื้อหนุนให้กับการเกิดความรุนแรงได้อีกด้วย
ผู้เขียนเคยใช้วิธีการนี้ศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองไทยในช่วง 20-25 ปีแรกของระบอบ
ประชาธิปไตย ครอบคลุมสมัยรัชกาลที่ 7 ขบวนการเสรีไทยและหลังรัฐประหาร 2490 โดยทำ
ตามแนวศึกษาของวิธีการนี้ คือการพินิจพิเคราะห์กลุ่มการเมืองต่างๆ ในฐานะกลุ่มก้อนแบบ
เครือข่ายความสัมพันธ์ที่มีภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในด้านความเหมือนและหรือแตก
ต่างกันอย่างรอบด้าน อันเป็นวิธีการที่แตกต่างไปจากการวิเคราะห์แบบเดิมๆ ที่มักแสดงให้เห็น
เพียงบุคคลมากกว่ากลุ่มก้อนแบบเครือข่ายนั้น ตัวอย่างเช่น เดิมเวลากล่าวถึงฝ่ายนายปรีดี
พนมยงค์ เรามีแต่นายปรีดี พนมยงค์ หรือเมื่อพูดถึงฝ่ายพลังอนุรักษ์นิยม ก็ไม่พ้นนายควง
อภัยวงค์และพี่น้องแห่งตระกูล ปราโมช และหากกล่าวถึงกลุ่มทหาร มักมีแต่ชื่อจอมพลคนนี้
คนนั้น 2-3 ท่านก็หมดแล้ว แต่ตามวิธีการนี้การกล่าวถึงกลุ่มการเมืองต่างๆ มีมากกว่าเพียงผู้นำ
เพราะพินิจในเชิงกลุ่มก้อนและเครือข่ายของความสัมพันธ์ทางสังคมจากมิติต่างๆ ฉะนั้นแทนที่จะ
มองการเมืองไทยผ่านเพียงผู้นำจำนวนไม่ถึง 10 ท่านที่มักปรากฏในคำอธิบายเดิมๆ วิธีการ
“ปุริสลักขณพยากรณศาสตร์” กลับให้ความสนใจ “นักการเมือง” จำนวน 1,200 ท่านที่ปรากฏตัว
ขึ้นบนเวทีการเมืองในช่วงดังกล่าวนี้
ในขั้นแรกของวิธีการ“ปุริสลักขณพยากรณศาสตร์” คือ การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน
ทั้งภูมิหลังด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของผู้นำไทยจำนวน 1,200 คน ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาท
และอิทธิพลในช่วง 20 ปีของระบอบรัฐธรรมนูญ (2475-2495) และมากกว่าครึ่งในจำนวนนี้
ยังคงแสดงบทบาทและมีอิทธิพลอย่างต่อเนื่องในช่วง 20 ปีให้หลังไปจนถึงเหตุการณ์เมื่อวันที่
14 ตุลาคม 2516 โดยในขั้นแรกนี้การจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวให้เป็นระบบได้ใช้คอมพิวเตอร์
โปรแกรม Excel/Access ทำการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะเป็นฐานข้อมูล (Database) ตามตัวแปร
ต่างๆ ที่กำหนดไว้ เช่น อายุ ครอบครัว การศึกษา อาชีพ ประสบการณ์ทางการเมือง ความ
สัมพันธ์ทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองกับบุคคลภายในกลุ่มตนและกลุ่มอื่นๆ ผ่านการแต่งงาน
สมาคมนักเรียนเก่า สมาคมอาชีพต่างๆ บริษัท ธุรกิจ-การค้าและกลุ่ม/พรรคการเมือง ฯลฯ
อย่างละเอียดเท่าที่จะเป็นไปได้
ในขั้นต่อมาเป็นกระบวนการวิเคราะห์ผู้นำจำนวน 1,200 คนนั้นในลักษณะจัดให้เป็นกลุ่ม
ทางการเมือง คือจะเป็นการศึกษาที่มุ่งจัดแบ่งผู้นำที่มีภูมิหลังคล้ายกันออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ จากนั้น
จึงทำการเปรียบเทียบปัจจัยภูมิหลังด้านต่างๆ ของแต่ละกลุ่มอย่างเป็นระบบตามที่ได้จัดทำไว้ใน
ฐานข้อมูลนั้น ในขั้นที่สองนี้การวิเคราะห์และเปรียบเทียบนั้นจะเน้นเฉพาะผู้แสดงบทบาทหลัก
(Major actors) ในแต่ละกลุ่ม ซึ่งมีเพียงประมาณ 600 จากจำนวน 1,200 คน เพื่อตอบคำถาม เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
หลักว่า ในบรรดาปัจจัยภูมิหลังที่แตกต่างกันอย่างหลากหลายนั้น ปัจจัยใดบ้างมีความหมาย