Page 335 - kpi15476
P. 335
334 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
บทความนี้ จึงมีจุดมุ่งหมายสำคัญในการพิจารณาถึงการนำเอาหลักธรรมาภิบาลมาประยุกต์
ใช้ในการปรับปรุงโครงสร้าง ตลอดจนค่านิยมของระบบราชการไทยที่เกิดขึ้นในช่วงหลังปี พ.ศ.
2540 เป็นต้นมาซึ่งแม้จะเห็นได้ว่าหลักธรรมาภิบาลจะได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างกว้างขวางในระบบ
ราชการของไทยก็ตาม แต่ก็ต้องยอมรับด้วยว่าความพยายามในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลใน
ระบบราชการไทยยังมิได้เกิดมรรคผลอย่างรวดเร็วและสมบูรณ์แบบ บทความนี้เป็นความพยายาม
ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มและข้อจำกัดเกี่ยวกับการเสริมสร้างแนวคิดธรรมาภิบาลในระบบราชการของ
ไทยในแง่มุมต่างๆ โดยมีเป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่การนำเสนอแนวทางที่สำคัญบางประการที่อาจมี
ส่วนช่วยในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลให้กับระบบราชการของไทยให้ได้อย่างเป็นรูปธรรมและ
ยั่งยืนต่อไป
บทความนี้จะแบ่งโครงสร้างการนำเสนออกเป็น 3 ส่วน กล่าวคือ ในส่วนแรกจะเป็น
การทำความเข้าใจกับหลักธรรมาภิบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักธรรมาภิบาลที่ได้รับการเผยแพร่
และที่มีการนำมาปรับใช้ในบริบทของไทย จากนั้นในส่วนที่สอง จะเป็นความพยายามชี้ให้เห็นถึง
แนวโน้มและข้อจำกัดบางประการของการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในระบบราชการไทย และในส่วน
ที่สาม เป็นบทสรุปที่พยายามมุ่งชี้ให้เห็นถึงภาพของปัญหารวมทั้งข้อเสนอแนะบางประการที่อาจ
ถือเป็นแนวทางสำหรับการลดข้อจำกัดของธรรมาภิบาลในระบบราชการไทย
หลักธรรมาภิบาลกับระบบราชการไทย
หลักธรรมาภิบาลซึ่งมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Good Governance นั้น เป็นหลักการที่
เริ่มได้รับการพูดถึงในช่วงปลายทศวรรษ 1990 โดยธนาคารโลก ทั้งนี้ธนาคารโลกได้ตะหนักถึง
ความสำคัญของหลักธรรมาภิบาลที่มีต่อการพัฒนาและฟื้นฟูทางด้านเศรษฐกิจ (World Bank
1989) และหลังจากนั้น หลักธรรมาภิบาลก็ได้รับการขยายผลและนำไปกล่าวถึงกันอย่าง
กว้างขวางโดยบรรดาองค์การระหว่างประเทศหลายองค์การไม่ว่าจะเป็นองค์การที่เกี่ยวข้องกับ
เศรษฐกิจการเงินระหว่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศด้านการพัฒนาโดยหลักแล้ว
องค์การระหว่างประเทศเหล่านั้นต่างมองว่าหลักธรรมาภิบาลจะเป็นหลักการหรือแนวทางสำคัญที่
จะช่วยให้ประเทศต่างๆ มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองที่มั่นคงและยั่งยืน
โดยพื้นฐานแล้วหลักธรรมาภิบาลเป็นหลักการที่ให้ความสำคัญกับ 3 ภาคส่วนในสังคม
อันได้แก่ ภาครัฐ (public sector) ภาคธุรกิจเอกชน (private sector) และภาคประชาสังคม
(civil society) โดยเป็นการเน้นถึงการทำงานของภาคส่วนทั้ง 3 ในสังคมที่ต้องมีการเชื่อม
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในแง่ของการปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างสังคมธรรมาภิบาลแล้วนั้น
ประสานกันอย่างได้สมดุล (อรพินท์ สพโชคชัย อ้างใน บวรศักดิ์ อุวรรณโณ 2542 : 29-30)
ต้องยอมรับว่าการสร้างสังคมธรรมาภิบาลนับเป็นสิ่งที่เป็นพลวัต ไม่ได้เป็นกระบวนการที่หยุดนิ่ง
จากบทความชิ้นหนึ่งของ Merilee S. Grindle ได้แสดงให้เห็นว่าเงื่อนไขหรือสิ่งที่ต้องทำเพื่อให้เกิด
สังคมธรรมาภิบาลนั้น มักมีจำนวนเงื่อนไขที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ Grindle ได้ทำการศึกษา