Page 339 - kpi15476
P. 339

33      การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                       ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ คงพอช่วยทำให้เห็นได้ว่าหลักธรรมาภิบาลได้เข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญ
                  ในประเทศไทยในช่วงที่มีกระแสเรียกร้องให้มีการปฏิรูปทางการเมืองในช่วงหลังปี พ.ศ. 2535

                  ต่อเนื่องถึงช่วงปี พ.ศ. 2540 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพิจารณาถึงสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่ง
                  ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 แล้ว ก็จะยิ่งเห็นได้อย่างชัดเจนว่าบทบัญญัติหลายส่วนใน
                  รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นความพยายามในการบ่มเพาะหลักการพื้นฐานของธรรมาภิบาลให้กับ

                  การเมืองไทย


                       อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในส่วนของกลไกระบบราชการของไทยแล้ว เราจะเห็นได้ว่า
                  แนวคิดของรัฐบาลในอันที่จะปฏิรูประบบราชการได้เริ่มแสดงให้เห็นเป็นรูปธรรมมาตั้งแต่ในช่วง
                  รอยต่อระหว่างรัฐบาลของ พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ต่อเนื่องถึงในช่วงรัฐบาลของ

                  พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ กล่าวคือ ในช่วงรัฐบาลของ พล.อ. เปรม ได้มีการปรับปรุง ”คณะ
                  ที่ปรึกษาระเบียบบริหารของนายกรัฐมนตรี” ที่มีมาตั้งแต่ในสมัยรัฐบาลของ พล.อ. เกรียงศักดิ์

                  และจัดตั้งเป็น “คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการและระเบียบริหารราชการแผ่นดิน” อย่างไร
                  ก็ตาม หากพิจารณาถึงแนวคิดหรือเป้าหมายที่สำคัญของการปฏิรูประบบราชการในช่วงระยะเวลา
                  ดังกล่าว ก็จะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์ที่สำคัญนั้นอยู่ที่การจำกัดขนาด หรือป้องกันการขยายตัวของ

                  ส่วนราชการเป็นสำคัญ (วสันต์ เหลืองประภัสร์ 2556 : 193-194)


                       แนวความคิดในการปรับปรุงหรือปฏิรูประบบราชการเพื่อเป้าหมายในการเสริมสร้างธรรมา-
                  ภิบาลให้แก่ตัวระบบราชการดูเหมือนว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นในช่วงรัฐบาลของนายอานันท์
                  ปันยารชุน (ปี พ.ศ. 2534 - 2535) ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐบาลของนายอานันท์ได้มีการริเริ่ม

                  นโยบายเรื่องการจ้างเหมาบริการในหน่วยงานของรัฐบางหน่วย รวมถึงมีการดำเนินมาตรการ
                  ส่งเสริม “ความโปร่งใส” ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ หลังจากนั้น ความพยายามของ

                  การปฏิรูประบบราชการภายใต้กรอบแนวคิดธรรมาภิบาลได้ปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมอีกครั้งหนึ่ง
                  ในสมัยรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีในช่วงปี
                  พ.ศ. 2538-2539 ทั้งนี้ก็เพราะว่าในช่วงสมัยรัฐบาลของนายบรรหาร ได้มีการประกาศใช้

                  พระราชบัญญัติที่สำคัญ 2 ฉบับที่มีสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลในระบบราชการไทย
                  นั่นก็คือ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และ พระราชบัญญัติความ

                  รับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (วสันต์ เหลืองประภัสร์ 2556 : 194-195) ซึ่ง
                  กฎหมายทั้ง 2 ฉบับมีส่วนอย่างสำคัญในการวางกรอบแนวทางการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน
                  ภาครัฐ กับทั้งสร้างความรู้สึกรับผิดรับชอบให้เกิดขึ้นในหมู่เจ้าหน้าที่รัฐให้มากยิ่งขึ้น


                       ในช่วงรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย (ปี พ.ศ. 2540-2543) นับเป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งที่หลัก

                  ธรรมาภิบาลได้เข้ามามีส่วนอย่างสำคัญต่อการปรับปรุงแนวคิด ค่านิยม และกระบวนการดำเนิน
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   ประเทศในช่วงปี พ.ศ. 2540 ที่ส่งผลทำให้บรรดาองค์กรทางด้านเศรษฐกิจและการเงินระหว่าง
                  งานของระบบราชการไทย ส่วนหนึ่งย่อมเป็นผลสืบเนื่องมาจากวิกฤติทางด้านเศรษฐกิจของ



                  ประเทศที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่ประเทศไทยต่างเรียกร้องให้ประเทศไทยต้องมุ่ง
                  ปฏิรูปการบริหารงานภาครัฐภายใต้กรอบแนวคิดธรรมาภิบาล (Bidhya Bowornwathana 2000

                  : 394) ดังนั้น ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวเราจึงสังเกตเห็นได้ถึงทิศทางความพยายามในการปฏิรูป
   334   335   336   337   338   339   340   341   342   343   344