Page 336 - kpi15476
P. 336

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   335


                      โดยการรวบรวมเงื่อนไขของการสร้างธรรมาภิบาลที่ปรากฏอยู่ใน The World Development
                      Report ของธนาคารโลก ซึ่งเขาพบว่าในรายงานปี พ.ศ. 2540 ระบุว่าเงื่อนไขหรือสิ่งที่ต้องทำใน

                      การสร้างธรรมาภิบาลในประเทศกำลังพัฒนามีอยู่เพียง 45 รายการเท่านั้น แต่ต่อมาในปี พ.ศ.
                      2545 จำนวนของเงื่อนไขดังกล่าวได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นจำนวนถึง 116 รายการ ซึ่งสำหรับตัว
                      เขาเองแล้วจึงเห็นว่าหากประเทศใดก็ตามหากต้องการธรรมาภิบาลในการบริหารประเทศ ประเทศ

                      นั้นจำเป็นต้องเร่งดำเนินการ เพราะหากมัวรั้งรอแล้ว นั่นย่อมเท่ากับว่าประเทศนั้นๆ จะมีเงื่อนไข
                      หรือสิ่งที่จำเป็นต้องทำสำหรับการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารประเทศที่เพิ่มมากขึ้น (Grindle

                      2004 : 527-528)

                            แม้ว่าในทางปฏิบัติการสร้างสังคมธรรมาภิบาลจะมีเงื่อนไขที่ต้องดำเนินการเป็นจำนวนมาก

                      ก็ตาม แต่โดยหลักการแล้วองค์ประกอบหลัก (key elements) ของธรรมาภิบาลจะไม่หนีไปจาก
                      องค์ประกอบที่ อรพินท์ สพโชคชัยได้สรุปเอาไว้ นั่นคือ การมีส่วนร่วมของประชาชน (public

                      participation) ที่มุ่งเน้นถึงการเข้าไปมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ
                      ที่เกิดขึ้นภายในรัฐ ไม่ว่าจะผ่านช่องทางใดก็ตาม ความสุจริตและโปร่งใส (honesty and
                      transparency) ซึ่งหมายถึงการมีระบบและกติกาต่างๆ ที่เปิดเผย ประชาชนเข้าถึงและได้รับ

                      ข้อมูลอย่างเสรี พันธะความรับผิดชอบต่อสังคม (accountability) ที่เน้นไปที่การรับผิดรับชอบต่อ
                      สาธารณะ ซึ่งความโปร่งใสจะมีส่วนอย่างสำคัญต่อการสร้างความรับผิดรับชอบ กลไกการเมือง

                      ที่ชอบธรรม (political legitimacy) เป็นไปตามกฎเกณฑ์กติกาและเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน
                      ภายในสังคม กฎเกณฑ์ที่ยุติธรรมและชัดเจน (fair legal framework and predictability)
                      โดยกฎเกณฑ์เหล่านั้นมีการบังคับใช้กับทุกภาคส่วนในสังคมอย่างเท่าเทียมไม่มีการยกเว้น

                      อันทำให้ทุกฝ่ายสามารถคาดเดาถึงผลลัพธ์ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อมีการบังคับใช้กฎเกณฑ์และ
                      กติกาต่างๆ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (efficiency and effectiveness) ที่เน้นถึง

                      กระบวนการหรือกลไกต่างๆที่ทำหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะซึ่งมีความคุ้มค่าและก่อให้เกิด
                      ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ (อรพินท์ สพโชคชัย 2540)


                            ในระยะหลังๆ บางหน่วยงานอาจมีการเพิ่มเติมองค์ประกอบหลักของหลักธรรมาภิบาล
                      เข้าไปบ้าง แต่ก็มิได้ส่งผลทำให้จุดเน้นของหลักธรรมาภิบาลเปลี่ยนแปลงไปมากนัก เช่น

                      UNESCAP อาจให้ความสำคัญกับการมีฉันทามติร่วมกันภายในสังคม (consensus oriented)
                      ซึ่งจะเกิดขึ้นได้เมื่อภาคส่วนต่างๆ ภายในสังคมยอมรับถึงความต้องการหรือผลประโยชน์ของ
                      แต่ละภาคส่วนที่แตกต่าง แต่สุดท้ายแล้วทุกภาคส่วนนั้นสามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้ว่าทางเลือก

                      หรือการตัดสินใจแบบใดที่จะเป็นการตัดสินใจที่เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมได้มากที่สุด รวมถึงการ
                      ให้ความสำคัญกับความเสมอภาคและความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม (equity and

                      inclusiveness) ซึ่งหมายความว่าทุกภาคส่วนต่างรู้สึกว่าตนเองนั้นเป็นส่วนหนึ่งในสังคมอย่าง
                      เท่าเทียม ไม่ถูกแบ่งแยกและกีดกันจากกระบวนการตัดสินใจในประเด็นต่างๆ ของสังคม
                      (UNESCAP, What is Good Governance?, http://www.unescap.org/pdd/prs/

                      ProjectActivities/Ongoing/gg/governance.asp, เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2556)
                      จากการพิจารณาองค์ประกอบที่สำคัญของหลักธรรมาภิบาลดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น อาจพอทำให้                 เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย

                      สรุปได้ว่า การสร้างสังคมธรรมาภิบาลนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการปรับปรุงทั้งในเชิง
   331   332   333   334   335   336   337   338   339   340   341