Page 340 - kpi15476
P. 340

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   339


                      ระบบราชการที่เป็นระบบ ผ่านการจัดทำ “แผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ” และการประกาศใช้
                      ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2542 และ

                      ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับรองมาตรฐานด้านการจัดการและผลสัมฤทธิ์ของงาน
                      ภาครัฐ พ.ศ. 2543


                            ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 รัฐบาลของพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้ยกเลิกระเบียบว่าด้วยการ
                      บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และดำเนินการตรากฎหมายที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้าง

                      ธรรมาภิบาลในระบบราชการไทยขึ้นฉบับหนึ่ง นั่นคือ พระราชกฤษฏีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และ
                      วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 โดยสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ ได้ให้นิยาม
                      ของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเอาไว้ว่าจะต้องเป็นการบริหารเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหลัก

                      7 ประการ อันได้แก่ เกิดประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
                      มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความ

                      จำเป็น มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ ประชาชนได้รับการอำนวย
                      ความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ และมีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่าง
                      สม่ำเสมอ (พระราชกฤษฎีการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.

                      2546 : มาตรา 6) ซึ่งพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ยังได้มีผลบังคับใช้อย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน


                      แนวโน้มและข้อจำกัดบางประการในการเสริมสร้าง

                      ธรรมาภิบาลในระบบราชการไทย



                            การทบทวนถึงสาระสำคัญของหลักธรรมาภิบาลและการรับเอาแนวคิดดังกล่าวมาปรับใช้ใน

                      ระบบราชการไทยได้ทำให้เราเห็นว่าตัวหลักธรรมาภิบาลเองก็มีสาระสำคัญหรือองค์ประกอบที่
                      หลากหลาย ซึ่งการจะนำเอาหลักการดังกล่าวมาปรับใช้ให้ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์นั้น ย่อมมี
                      ความจำเป็นต้องมีการดำเนินการทั้งในเชิงโครงสร้างของระบบราชการเอง และในเชิงของ

                      กระบวนการในการบริหารงาน ซึ่งจากการพิจารณาถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ทำให้เราเห็นได้
                      ว่าความพยายามในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นในระบบราชการไทยได้เริ่มต้นชัดเจนขึ้น

                      ตั้งแต่หลังปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.
                      2540 ที่สามารถมองได้ช่วยสร้างกลไกใหม่ขึ้นหลายกลไกเพื่อทำหน้าที่ในการช่วยเสริมสร้าง
                      ธรรมาภิบาลให้แก่ระบบราชการไทย


                            อย่างไรก็ตาม เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันระบบราชการไทยเองก็ยังคงต้องเผชิญกับ

                      ปัญหาที่เกี่ยวโยงกับประเด็นธรรมาภิบาลอยู่ ซึ่งหากเราพยายามที่จะวิเคราะห์ให้เห็นถึงเงื่อนไข
                      หรือปัจจัยที่ส่งผลให้ธรรมาภิบาลในระบบราชการไทยยังคงต้องประสบกับปัญหา เราพอที่จะสรุป

                      ให้เห็นถึงแนวโน้มและข้อจำกัดในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในระบบราชการไทยได้ดังนี้คือ                   เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
   335   336   337   338   339   340   341   342   343   344   345