Page 337 - kpi15476
P. 337

33      การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  โครงสร้าง และกระบวนการของทั้ง 3 ภาคส่วน นั่นคือ ภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาค
                  ประชาสังคม


                       สำหรับในกรณีของประเทศไทย บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ได้วิเคราะห์เอาไว้ว่าสภาพทาง
                  เศรษฐกิจและสังคมของไทยที่ผ่านมาในอดีตมีลักษณะสำคัญที่ไม่สอดคล้องต่อสภาพการเป็น

                  สังคมธรรมาภิบาล กล่าวคือ ในประการแรก ประเทศไทยมีโครงสร้างทางสังคมที่อ่อนแอดังจะ
                  เห็นได้จากการที่ระบบหรือกลไกราชการทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการจัดการเศรษฐกิจและสังคม

                  รวมศูนย์อำนาจในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆไว้ที่กลไกของราชการส่วนกลางที่กรุงเทพมหานคร
                  รวมทั้งสภาพของระบบการเมืองที่ขาดความต่อเนื่องและไร้เสถียรภาพ ในประการที่สอง
                  กระบวนการบริหารจัดการเศรษฐกิจและสังคมของไทยเป็นกระบวนการที่ปิดโดยไม่เปิดโอกาสให้

                  ภาคส่วนต่างๆได้เข้าไปมีส่วนร่วม ซึ่งลักษณะเช่นนี้ มีส่วนอย่างสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้งใน
                  เรื่องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่รุนแรง และในประการที่สาม หากพิจารณาในด้านกลไกทาง

                  กฎหมาย ก็จะเห็นได้ว่ากฎหมายเองก็มีปัญหาเพราะให้อำนาจและดุลพินิจแก่ระบบราชการมาก
                  ปราศจากการควบคุมตรวจสอบที่สมบูรณ์ จึงเป็นที่มาของการทุจริตและประพฤติมิชอบ
                  (บวรศักดิ์ อุวรรณโณ 2542 : 59-67)


                       เพราะฉะนั้น จากการที่เศรษฐกิจและสังคมของไทยที่มีลักษณะอธรรมาภิบาลดังที่ได้กล่าว

                  มานี้เองจึงทำให้เกิดแนวคิดและข้อเรียกร้องว่าเราจำเป็นต้องมีการปฏิรูปทางการเมือง รัฐธรรมนูญ
                  แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 จึงได้มีสถานะเป็นเครื่องมือสำคัญที่หลายฝ่ายคาดหวังว่าจะ
                  นำไปสู่การปฏิรูปทางด้านการเมืองภายใต้กรอบแนวคิดธรรมาภิบาล โดยที่รัฐธรรมนูญได้มุ่งเน้น

                  ไปที่สาระสำคัญ 3 ประการ อันได้แก่ (บวรศักดิ์ อุวรรณโณ 2542 : 74-77)


                       การมุ่งปฏิรูปให้สภาวะ “การเมืองที่เป็นของนักการเมือง” กลายเป็น “การเมืองของ
                  พลเมือง” ดังที่เราจะเห็นได้จากการที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นสิทธิ
                  เสรีภาพของประชาชน รวมถึงช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมืองนอกเหนือไป

                  จากการเลือกตั้ง


                       การทำให้ภาครัฐทั้งที่เป็นฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำ ซึ่งถูกมองว่ามีปัญหาในเรื่อง
                  ของความสุจริตและโปร่งใส เป็นภาครัฐที่มีความโปร่งใส สุจริต และมีความชอบธรรมในการใช้

                  อำนาจ ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ให้ความสำคัญกับกลไกหรือองค์กรอิสระต่างๆ
                  ที่ทำหน้าที่ในการกำกับและตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ และ


                       การปรับปรุงให้ระบบการเมืองและระบบราชการที่ไร้เสถียรภาพและประสิทธิภาพ ให้กลาย
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   เริ่มต้นของความพยายามที่ชัดเจนและเป็นระบบในการที่จะสร้างสภาพสังคมธรรมาภิบาลให้เกิด
                  เป็นระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่มีเสถียรภาพ และประสิทธิภาพโดยต้องมีระบบการ
                  ตรวจสอบที่เข้มงวดทั้งในทางกฎหมายและช่องทางอื่นๆ


                       ดังนั้น จึงพอที่จะกล่าวได้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 นับได้ว่าเป็นจุด



                  ขึ้นในประเทศไทย เราสามารถมองได้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
   332   333   334   335   336   337   338   339   340   341   342