Page 344 - kpi15476
P. 344
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 343
ได้มากขึ้นหรือไม่ ซึ่ง Painter ได้อธิบายว่าการปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ.
2545 นับเป็นจังหวะและโอกาสที่ดียิ่งของฝ่ายการเมืองในการจัดวางตัวข้าราชการระดับสูงหลาย
ตำแหน่งภายในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ซึ่งแน่นอนว่าข้าราชการที่มีแนวทางหรือรูปแบบการทำงาน
ที่ไม่สอดคล้องต้องกันกับฝ่ายการเมือง ก็ย่อมมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกโยกย้ายออกจากตำแหน่ง
สำคัญที่ครองอยู่ โดยฝ่ายการเมืองก็จะพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการประจำคนอื่นที่ฝ่ายการเมือง
เห็นว่ามีความ “เหมาะสม” และสามารถทำงานเข้ากับฝ่ายการเมืองได้เป็นอย่างดีเข้ามาดำรง
ตำแหน่งนั้นๆ แทน (Painter 2006 : 39-40) เพราะฉะนั้น หากเรามองจากปรากฏการณ์
ข้างต้น เราจึงอาจกล่าวได้ว่าการที่ดุลทางอำนาจระหว่างฝ่ายการเมืองกับข้าราชการประจำเปลี่ยน
ไปนั้น ไม่ได้ส่งผลทำให้กลไกระบบราชการสามารถสนองตอบต่อปัญหาและความต้องการของ
ประชาชนได้ดีขึ้น แต่ทว่าเป็นการช่วยให้กลไกราชการสนองตอบต่อนโยบายและความต้องการ
ของฝ่ายการเมืองได้ดียิ่งขึ้นเสียมากกว่า เพราะหากข้าราชการประจำผู้ใดไม่สนองตอบต่อนโยบาย
หรือความต้องการของฝ่ายการเมืองแล้ว นั่นย่อมหายถึงความเปลี่ยนแปลงของบทบาทและอำนาจ
ของข้าราชการประจำผู้นั้น
ความเปลี่ยนแปลงดุลของอำนาจระหว่างฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำที่เปลี่ยนแปลง
ไปในช่วงหลังการปฏิรูปการเมืองในช่วงปี พ.ศ. 2540 ไม่ได้จำกัดให้เห็นแต่เพียงแค่ในระดับชาติ
เท่านั้น หากเราเปลี่ยนหน่วยของการวิเคราะห์จากระดับชาติลงไปสู่ระดับท้องถิ่น เราก็จะเห็นได้
ซึ่งความเปลี่ยนแปลงของดุลทางอำนาจระหว่างฝ่ายการเมือง และข้าราชการประจำของท้องถิ่น
ด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ในช่วงที่การเมืองไทยมีบรรยากาศแบบอำมาตยาธิปไตยนั้น กลไกการ
ปกครองท้องถิ่นย่อมตกอยู่ภายใต้การควบคุมและกำกับของข้าราชการประจำซึ่งในช่วงเวลา
ดังกล่าวอาจยังไม่มีการขีดเส้นแบ่งระหว่างข้าราชการของส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
ที่ชัดเจนมากนัก เราจะเห็นถึงบทบาทของข้าราชการประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกระทรวง
มหาดไทยในการกำกับและควบคุมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ชัดเจนและเข้มข้น โดยที่
นักการเมืองท้องถิ่นจะเข้ามามีบทบาทน้อยมาก (ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ 2555 : 30-34)
จนกระทั่งกระบวนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เริ่มต้นขึ้นอย่าง
จริงจังในช่วงหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 นี้เอง ที่ได้ส่งผล
ให้ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกรูปแบบต้องมาจากการเลือกตั้ง ยังผลให้ฝ่าย
การเมืองของท้องถิ่นได้ทวีบทบาทและอำนาจหน้าที่มากขึ้นโดยลำดับ ประกอบกับระบบการ
บริหารงานบุคคลของข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นเอง ที่ออกแบบให้ผู้บริหารขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจในการบริหารงานบุคคลภายในองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นอย่างเกือบเบ็ดเสร็จ ได้ส่งผลทำให้ดุลความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองและฝ่าย
ข้าราชการประจำเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ โดยจะเห็นได้ว่านับตั้งแต่ช่วงหลังปี พ.ศ. 2540
จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ฝ่ายข้าราชการประจำของท้องถิ่นต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของผู้บริหารงาน
ซึ่งเป็นฝ่ายการเมืองอย่างเกือบจะสมบูรณ์ ซึ่งแน่นอนว่าข้าราชการประจำของท้องถิ่นเหล่านี้
ย่อมต้องทำงานเพื่อสนองตอบต่อนโยบายของผู้บริหารซึ่งเป็นฝ่ายการเมืองก่อนเป็นอันดับแรก
หาใช่ภาคประชาชนในท้องถิ่นแต่ประการใด เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย