Page 376 - kpi15476
P. 376
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 3 5
That a peace based exclusively upon the political and economic
arrangements of governments would not be a peace which could secure the
unanimous, lasting and sincere support of the peoples of the world, and that
the peace must therefore be founded, if it is not to fail, upon the intellectual
and moral solidarity of mankind.”…
งานของยูเนสโกจึงเป็นการวางรากฐานทางสังคมผ่านความร่วมมือด้านการศึกษา
วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และสื่อสาร เพื่อสร้างสันติภาพถาวรในความคิดจิตใจของมวลมนุษย์
ทั่วโลก และบุคคลสำคัญที่ยูเนสโกร่วมฉลองทุก 2 ปีนั้นก็จะต้องมีผลงานในด้านดังกล่าวด้วย
2. บริบททางประวัติศาสตร์
การเชื่อมโยงบริบทสยามในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้ากับบริบทโลกของโลก
ประเทศสยามหรือประเทศไทยไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว แต่มีความสัมพันธ์กับโลกกว้างมานานแล้ว
โดยเฉพาะในยุคที่ตะวันตกแผ่ลัทธิล่าอาณานิคมเข้ามาก็มีผลกระทบและถูกคุกคามโดยตรง
ในการที่ประเทศไทยได้เสนอให้ยูเนสโกรับและร่วมเฉลิมฉลองพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัวในฐานะบุคคลสำคัญของโลกในวาระครบรอบ 10 รอบปีนักษัตรแห่งการพระราชสมภพ
(8 พฤศจิกายน 2013) และในวาระครบ 100 ปีแห่งการเสด็จนิวัติจากการไปทรงศึกษายาวนาน
ในต่างประเทศกลับมาทรงรับใช้แผ่นดินไทย (20 เมษายน 2014) นั้น ก็เท่ากับเราได้นำบุคคล
สำคัญและเหตุการณ์สำคัญจากประวัติศาสตร์ของไทยเราเข้าไปอยู่ในบริบทของโลกด้วย ซึ่งบัดนี้
ยูเนสโกได้ประกาศรับและร่วมเฉลิมฉลองพระองค์ในฐานะบุคคลสำคัญของโลกด้วยแล้วนั้น จึงจะ
ขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของเหตุการณ์ในประเทศสยามในยุคนั้นและความเชื่อมโยง
กับและเหตุการณ์สำคัญในเอเชียและในโลกในยุคสมัยเดียวกันด้วย
2.1 ในยุคสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพ
เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญในประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์โลก (ขอนับเป็น
คริสตศักราช เพื่อให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบ) ซึ่งปีพระราชสมภพตรงกับปี ค.ศ. 1893 ช่วงนั้น
อยู่ในช่วง 10 ปีสุดท้าย หรือทศวรรษที่ 1890 อันเป็นช่วงก่อนจะเปลี่ยนผ่านจากศตวรรษที่ 19
ไปสู่ศตวรรษใหม่คือศตวรรษที่ 20 ซึ่งนักประวัติศาสตร์และนักคิดในฝรั่งเศสเรียกช่วงเวลานั้นว่า
ช่วง “Fin de siècle” แปลว่า จบศตวรรษ ซึ่งมักจะนับ 10 ปีก่อนสิ้นศตวรรษเก่าและ 10 แรก
ของศตวรรษใหม่ด้วย
ในช่วง ทศวรรษ 1890 นั้น เกิดกระแสความคิดและอารมณ์ ทางการเมือง สังคม และ
ศิลปวัฒนธรรมที่แปรเปลี่ยนและขยายแผ่กว้างโดยทั่วไป โดยเฉพาะในหมู่นักเขียน ศิลปิน และ
นักปรัชญา เช่น ในฝรั่งเศส นำโดย Charles Baudelaire ในประเทศอื่นๆ ในยุโรป ก็มี เช่น เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
Arthur Schopenhauer (นักปรัชญาเยอรมัน) และ Oscar Wilde (นักเขียนและนักปรัชญา