Page 381 - kpi15476
P. 381
3 0 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
2.6. การประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งของสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 6
แม้ในแรกเริ่มที่มีสงครามโลกเกิดขึ้นในยุโรปนั้น พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 จะทรงประกาศ
ประเทศเป็นกลาง แต่ก็ทรงเตรียมความพร้อมทางทหารโดยทรงซื้อเรือรบใหม่ มีการรณรงค์
หาเงินบริจาคมาช่วยกันซื้อเรือรบดังกล่าวและทรงแสดงความคิดเห็นทางหนังสือพิมพ์เป็นบทความ
ใช้พระนามแฝงเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมสำหรับการสงครามและการสนับสนุนฝ่ายพันธมิตร
เพราะทรงเห็นว่าฝ่ายมหาอำนาจกลาง คือเยอรมนี และออสเตรีย -ฮังการีเป็นฝ่ายก่อสงคราม
รุกรานก่อนในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจะยุติลงนั้น พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงไตร่ตรอง
ติดตามความคืบหน้าตลอดเวลา และทรงวางแผนอยู่นานก่อนตัดสินพระทัยประกาศสงครามกับ
ฝายมหาอำนาจกลางโดยเข้าข้างฝ่ายพันธมิตร เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917)
ในขณะนั้นในประเทศสยามมีบริษัทห้างร้านของเยอรมัน เรือสินค้าเยอรมัน และวิศวกรชาว
เยอรมันทำงานในโครงการต่างๆ อยู่ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีคนไทย
ที่สำเร็จการศึกษามาจากเยอรมัน และที่ทำงานสนับสนุนการค้าเยอรมันและอยู่ในคณะการสร้าง
ทางรถไฟที่จ้างเยอรมันเป็นวิศวกรโครงการอีกมากมาย การประกาศสงครามกับเยอรมันจึงต้อง
เตรียมแผนอย่างดีที่สุดและเป็นความลับอย่างดีที่สุด ในเหตุการณ์นี้แม้ไม่มีรายละเอียดว่าสมเด็จ
เจ้าฟ้าประชาธิปกได้ทรงมีบทบาทสำคัญอย่างไร แต่แน่นอนว่าน่าจะคงทรงร่วมติดตามการ
วางแผนงานอยู่ด้วยในระดับที่พอสมควร
ในการนี้ มีการประกาศเรียกพลทหารอาสา สำหรับกองบินและกองยานยนต์ทหารบก
เพื่อส่งไปช่วยสงครามในยุโรป การส่งทหารไปรบครั้งนี้เมื่อเสร็จสงครามแล้วและสัมพันธมิตรเป็น
ฝ่ายชนะ ทหารไทยก็ได้ร่วมสวนสนามฉลองชัยชนะที่ปารีสในฐานะประเทศชนะสงครามด้วย
และประเทศไทยยังได้ส่งผู้แทนเข้าประชุมสันติภาพ ณ พระราชวังแวร์ซายและได้มีโอกาสขอ
เจรจาแก้ไขสัญญาต่างๆ ที่ไทยทำกับประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศสและชาติอื่นๆ อย่างไม่เป็นธรรม
ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 แต่การเจรจาดังกล่าวยืดเยื้อยาวนานเป็นสิบปีต่อมา ประสบความยาก
ลำบากอย่างมากเพราะประเทศคู่สัญญาพยายามยึดมั่นในผลประโยชน์ของตน อาศัยที่ไทยได้ว่า
จ้าง ดร. ฟรานซิส บี แซร์ (Dr. Francis B. Sayre) ชาวอเมริกาซึ่งเคยเป็นที่ปรึกษา
ต่างประเทศ จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยากัลยาณไมตรี กับที่ปรึกษาอเมริกันอีก
คนหนึ่งร่วมกับคณะทูตไทยในยุโรปซึ่งได้ติดตามเจรจาอย่างยาวนานในที่สุด ประเทศต่างๆ
13 ประเทศรวมทั้ง อังกฤษ และ ฝรั่งเศส ตกลงยอมแก้ไขสัญญา โดยมี เงื่อนไขบางประการ
2.7. ปารีสหลังสงครามสงบ
สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสุโขทัยธรรมาธิราช ทรงมีพระสุขภาพไม่สมบูรณ์หลายด้านมาแต่
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย ด้วย และแนะนำสถานที่ที่มีอากาศเย็น พระองค์จึงเสด็จพร้อมพระราชชายาไปรักษาพระองค์ที่
ทรงพระเยาว์ แม้จะทรงพยายามเล่นกีฬาชนิดต่างๆ เป็นประจำ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
นั้นทรงพระประชวรเรื้อรัง แพทย์หลวงได้แนะนำนายแพทย์ที่ฝรั่งเศสที่ควรจะทรงรักษาพระองค์
ปารีสในปี พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) ครั้นทรงหายจากอาการประชวรแล้ว ทรงขอพระบรมราชา
นุญาตเข้าศึกษาวิชาการในโรงเรียนนายทหารฝ่ายเสนาธิการฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส และโปรดให้
พระชายาทรงศึกษาภาษาฝรั่งเศสและวิชาอื่นๆ ด้วย