Page 378 - kpi15476
P. 378

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   3


                            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5 ซึ่งทรงโทมนัสและประชวรพระวรกาย มิได้ทรง
                      ย่อท้อต่ออุปสรรค ได้เสด็จประพาสยุโรปในปี ค.ศ 1897 ทั้งนี้เมื่อหลายปีก่อนนี้ มกุฎราชกุมาร

                      รัสเซียซึ่งต่อมาคือคือพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่สอง ได้เสด็จฯเยือนสยาม ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จ
                      พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับรองพระราชอาคันตุกะ ณ พระราชวังบางปะอิน นับเป็นงานใหญ่
                      ทำให้ความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างพระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์สนิทสนมยิ่งขึ้น มิตรภาพ

                      ดังกล่าวนำไปสู่ประโยชน์อันยิ่งใหญ่สำหรับสยามในคราวที่รัชกาลที่ 5 เสด็จไปยุโรป โดยได้เสด็จ
                      ไปแวะที่รัสเซียก่อน ทรงได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ มีข่าวไปทั่วยุโรป อีกทั้งพระเจ้าซาร์ได้ทรง

                      ช่วยติดต่อกับออสเตรียและเยอรมันให้ด้วย การเสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1897
                      นี้ ได้เสด็จเยือนประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก สวีเดน เบลเยี่ยม อิตาลี ออสเตรเลีย ฮังการี
                      สเปน เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมัน และอียิปต์ ซึ่งอยู่ในแอฟริกาและได้มีการขุดคลอง

                      สุเอซแล้วด้วย โดยได้ทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจ และได้ร่วมปรึกษาหารือเพื่อ
                      แก้ไขปัญหาบ้านเมือง ซึ่งในขณะนั้นยังมีปัญหาที่ค้างคากันอยู่กับฝรั่งเศส เพราะฝรั่งเศสก็ยังไม่

                      ยอมถอนกำลังออกจากจันทบุรีและตราด การที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงได้รับการต้อนรับ
                      อย่างยิ่งใหญ่และสมพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ไทยนั้น ช่วยคลี่คลายปัญหาได้มาก และยังได้
                      ทรงดูงานความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงในโลกอย่างกว้างขวางอีก โดยในช่วงที่ทรงเสด็จ

                      ประพาสยุโรปครั้งนั้นได้ ทรงโปรดให้สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีฯ  เป็นผู้สำเร็จราชการ
                      แทนพระองค์ ขณะนั้นสมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปก หรือ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุได้เพียง

                      4 ชันษาเท่านั้น เมื่อทรงเจริญวัยเข้าเรียนได้ทรงเข้ารับการศึกษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
                      ตามประเพณีขัตติยราชกุมารที่ดำเนินมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 4 และที่ 5 และยังทรงพระกรุณา
                      โปรดเกล้าฯ ให้เป็นนักเรียนนายร้อยพิเศษด้วย


                            ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้ามีพระชันษาได้ 12 ปี ทรงโสกันต์แล้ว รับพระราชทาน

                      โปรดเกล้าฯ ให้เป็นกรมขุนสุโขทัย แล้วจึงเสด็จไปศึกษาต่างประเทศ

                        2.3. ยุโรปในช่วงที่เสด็จไปศึกษาต่างประเทศ



                            การเดินทางไปศึกษาต่างประเทศนั้น เสด็จไปที่ฝรั่งเศสก่อน ฝรั่งเศสในยุคนั้นต้องถือว่าเป็น
                      คู่อริกับไทย แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จไปปารีสและทรงแก้ไขปัญหา
                      ด้วยพระองค์เองมาแล้ว และยังส่งพระราชโอรสองค์สุดท้องไปประทับอยู่ชั่วคราว ก่อนจะเสด็จต่อ

                      ไปอังกฤษในปี 1905 อีก สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชาเองที่ก็
                      สนพระทัยในภาษาฝรั่งเศสและประเทศฝรั่งเศสไม่น้อยเลย ในช่วงนั้นปารีสกำลังรุ่งเรืองเพราะ

                      เพิ่งจัด World Fair และโอลิมปิคฤดูร้อนในปี 1900 และหอไอเฟลก็ยังเป็นสิ่งมหัศจรรย์ทาง
                      วิศวกรรมของโลกอยู่ในระยะนั้น


                            ส่วนอังกฤษนั้น หลังจากที่มีการปฏิวัติในอเมริกา ทำให้อังกฤษสูญเสียสิบสามอาณานิคมใน
                      อเมริกาเหนือหลังการประกาศอิสรภาพของอเมริกาใน ค.ศ. 1783 เป็นการสูญสิ้นอำนาจใน

                      อาณานิคมที่เก่าแก่ที่สุดและมีประชากรหนาแน่นที่สุดไปบางส่วน แต่อังกฤษก็หันไปสนใจทวีป                เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
                      แอฟริกา ทวีปเอเชีย และแปซิฟิกแทน ต่อมาเมื่อหลังฝรั่งเศสพ่ายแพ้ในสมัยนโปเลียนใน ค.ศ.
                      1815 อังกฤษได้ก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจที่แทบจะไร้ผู้ต่อกรเป็นเวลาหนึ่งศตวรรษ และได้ขยาย
   373   374   375   376   377   378   379   380   381   382   383