Page 377 - kpi15476
P. 377

3       การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  อังกฤษ) เป็นต้น ความรู้สึกที่แผ่ขยายไปทั่วคือ มีความเบื่อหน่าย สับสนขัดแย้ง และเกิดทัศนคติ
                  มองโลกในแง่ร้าย (Pessimism) ว่าอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองมาตลอดนั้นนำไปสู่ความตกต่ำ

                  ถดถอยผุพังของสังคม (Decadence) ซึ่งต่างกันอย่างสิ้นเชิงจากยุค 10 ปีก่อนหน้านั้นที่มีความ
                  รู้สึกว่าเป็นช่วงที่มีวัฒนธรรมใหม่สวยงามรุ่งเรือง (The Belle Èpoque) มีความสุขสดชื่นเบ่งบาน
                  ในด้านศิลปะ การออกแบแฟชั่นในยุโรปโดยเฉพาะปารีส มีความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์

                  เทคโนโลยีในยุโรปและในโลก มีการประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญ เช่น รถยนต์ โทรศัพท์ การก่อสร้าง
                  หอไอเฟล (The Eiffel Tower) ในปี 1889 ด้วยเทคโนโลยีใหม่ทางวิศวกรรมเพื่อจัดงาน World

                  Fair ที่ปารีส นวัตกรรมต่างๆ เหล่านี้นำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมรอบที่สอง

                       ในทางการเมือง การปกครองในฝรั่งเศส ก็ยังมีความวุ่นวายต่อเนื่องมาเรื่อยตั้งแต่เกิดปฏิวัติ

                  ฝรั่งเศสครั้งแรกในปี 1789 ซึ่งส่งผลเป็นระลอกคลื่นไปอย่างกว้างขวาง และตามมาด้วยการปฏิวัติ
                  ครั้งที่ 2 ในปี 1830 ครั้งที่ 3 ในปี 1848 ต่อจากนั้นก็ยังมีสงคราม Franco-Prussian War ในปี

                  1871 ซึ่งกองทัพของพระเจ้านโปเลียนที่ 3 พ่ายแพ้แก่เยอรมันอย่างยับเยิน กองทัพเยอรมันบุก
                  เข้าปารีส ได้มีการเลือกตั้งปารีสคอมมูน หรือเรียกว่าปฏิวัติของคอมมิวนิสต์ หรือปฏิวัติครั้งที่ 4
                  ขึ้นในปารีสโดยกลุ่มกรรมกรเคลื่อนไหวทางสังคมหลายด้าน เช่น การเริ่มแนวร่วมกลุ่มสตรี

                  แนวทางการให้เมืองต่างๆปกครองตนเอง เกิดการแยกอำนาจระหว่างโบสถ์แคทอลิคกับรัฐ เกิด
                  กระแสวัฒนธรรมของกลลุ่มชนชั้นล่างขึ้นอย่างกว้างขวาง. นอกจากนี้ในยุโรปก็เริ่มสะสมและเสริม

                  กำลังทางอาวุธ มีการแข่งกันเข้าไปแสวงหาหาความมั่งคั่งโดยการแย่งชิงดินแดนและทรัพยากร
                  ในแอฟริกา (the scramble for Africa 1880-1900) เป็นต้นซึ่งเกิดต่อเนื่องหลังจากสงคราม
                  Franco-Prussian War ในปี 1870-1871 ซึ่งกองทัพของนโปเลียนที่ 3 ของฝรั่งเศสพ่ายแพ้ยับเยิน

                  นำไปสู่การก่อตัวของกลุ่มคอมมูนฝ่ายซ้าย มีกระแสเรื่องสิทธิของสตรี กระแสเรื่องให้เมืองต่างๆ
                  ปกครองตนเอง รวมทั้งเริ่มมีวัฒนธรรมของพวกชนชั้นกลาง (bourgeois) เกิดขึ้น อันจะนำไปสู่

                  การเปลี่ยนแปลงทางสังคมการเมืองระลอกใหญ่ในช่วงเวลาต่อมา

                    2.2. ปีพระราชสมภพ 1893 กับเหตุการณ์วิกฤติไทย-ฝรั่งเศส



                       ปีที่พระปกเกล้าทรงพระราชสมภพ (8 พ.ย. 1893) เป็นปีที่สาหัสมากสำหรับบริบทใน
                  ประเทศไทย ก็คือ เป็นปีที่มีวิกฤติไทย-ฝรั่งเศส ซึ่งได้ก่อตัวมาตั้งแต่ 1891 เมื่อ ม. ปาวี กงสุล
                  ใหญ่ของการเชื่อมโยงบริบทไทยกับบริบทโลกที่หลวงพระบางถูกส่งมาประจำทีกรุงเทพและโต้แย้ง

                  ว่ารัฐลาวเคยขึ้นต่อเวียดนาม ดังนั้นเมื่อฝรั่งเศสเข้าคุ้มครองเวียดนามได้ ลาวก็ต้องอยู่ในความ
                  คุ้มครองของฝรั่งเศสด้วย ความขัดแย้งทวีขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายน 1893 ต่อมาฝรั่งเศสส่งเรือรบ

                  เข้ามาปิดปากน้ำไทยเกิดการยิงกันขึ้นเสียหาย ฝรั่งเศสบีบบังคับจนทำให้ไทยต้องลงนามในสัญญา
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   อยู่หัวรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นสมเด็จพระราชบิดาของพระปกเกล้าและรัฐบาลของพระองค์
                  Franco-Siamese Treaty, on October 3, 1893 และฝรั่งเศสยังยึดจันทบุรีกับตราดไว้ด้วย
                  เหตุการณ์ช่วงนี้ทำให้เกิดความตึงเครียดทั้งทางอารมณ์ การเมืองและเศรษฐกิจขึ้นแก่พระเจ้า



                  ตลอดจนถึงเจ้านายฝ่ายในโดยเฉพาะสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระราชมารดาของ

                  พระองค์ด้วยอย่างแน่นอน
   372   373   374   375   376   377   378   379   380   381   382