Page 380 - kpi15476
P. 380
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 3 9
ก็ทรงแสดงความสนพระทัยที่จะประทับอยู่ต่อเพราะทรงเรียนทางการทหารมาโดยตรง ทรงได้เคย
เป็นทหารในกองทัพอังกฤษอยู่ก่อนสงคราม มีพระสหายร่วมรุ่นที่ออกทำการรบอยู่ในขณะนั้น แต่
ก็ทรงเชื่อฟังพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ได้เสด็จไปทูลลาพระเจ้ายอร์ชและเสด็จนิวัติพระนครเพื่อรับ
ใช้สนองพระเดชพระคุณแผ่นดินจนเต็มความสามารถแม้ในขณะนั้นจะไม่ทรงมีโอกาสที่จะขึ้นครอง
ราชย์อยู่เลยก็ตาม
การเสด็จนิวัติพระนครหลังจบการศึกษาครั้งนั้นของพระองค์ นับเป็นการแสดงความยืนยัน
ในความจงรักภักดีที่ทรงมีต่อแผ่นดินสยาม และทรงยอมรับที่จะอุทิศพระองค์ให้กับแผ่นดินไม่ว่า
ชะตาชีวิตจะเป็นอย่างไร เนื่องจากได้ทรงได้มีพระราชสมภพมาเป็นพระราชโอรสองค์สุดท้ายของ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 จึงมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่ไม่ทรงหลีก
เลี่ยง นับเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญยิ่งในพระชนม์ชีพของสมเด็จพระปกเกล้าและเป็นเหตุการณ์ที่
สำคัญต่อประเทศไทยในระยะต่อมา
พระองค์ได้เสด็จกลับมา และทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งนายทหารคนสนิทพิเศษของ
จอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถซึ่งเป็นพระเชษฐาใน
พระองค์ ต่อมาพระองค์ได้เลื่อนเป็นผู้บังคับกองร้อยทหารปืนใหญ่รักษาพระองค์และเป็นร้อยเอก
ได้เสด็จเข้ารับราชการประจำกรมบัญชาการกองพันน้อยที่ 2 ในตำแหน่งนายทหารเสนาธิการและ
เลื่อนเป็นนายพันตรี แล้วเป็นพันโทบังคับการโรงเรียนนายร้อยชั้นประถมตามลำดับ
เมื่อมีพระชนม์ครบ 2 รอบนักษัตรไทยแล้ว ก็ทรงลาราชการเพื่อเสด็จออกผนวชตาม
พระราชประเพณี ณ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อปี พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917) โดยมี
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ ระหว่างที่ผนวชนั้น
สมเด็จพระอุปัชฌาย์ได้ทรงสังเกตพระราชนิสัยรักสงบสันโดษ จึงทรงปรารภว่า พระองค์นั้นเป็น
พระอนุชาพระองค์เล็กสุด คงไม่ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นแน่ จึงทรงชวนให้พระองค์อยู่ใน
สมณเพศตลอดไป เพื่อจะได้ช่วยปกครองสังฆมณฑลให้เจริญก้าวหน้าสืบไป แต่สมเด็จพระปกเกล้า
ได้ทูลตอบว่าได้ทรงกำหนดหมายที่จะอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้ารำไพพรรณี สวัสดิวัตน์เสียก่อน
หน้านี้แล้ว
เมื่อทรงสึกออกมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงตรัสขอหม่อมเจ้า
รำไพพรรณี สวัสดิวัตน์จากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวันวิศิษฎ์พระราชบิดาทรง
พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกอบพระราชพิธีอภิเษกสมรสพระราชทานที่ ตำหนัก ณ วังศุโขทัย
ซึ่งสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรม-ราชินีนาถพระพันปีหลวงโปรดให้สร้างพระราชทานเป็นเรือนหอ
และมีการเลี้ยงพระราชทานที่พระที่นั่ง วโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอิน เมื่อวันที่ 26
สิงหาคม พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) ซึ่งนับเป็นการอภิเษกสมรสครั้งแรกในประวัติศาสตร์หลังจาก
การตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการเสกสมรสแห่งเจ้านายในพระราชวงศ์ และยังเป็นการแต่งงาน
ที่มีการถามความสมัครใจของคู่บ่าวสาวด้วย
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย