Page 418 - kpi15476
P. 418

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   41


                      หลักคิดสำคัญยิ่ง สอดรับกับนักคิดนักหนังสือพิมพ์ผู้ยิ่งใหญ่ในต่างวัฒนธรรมต่างระบอบการ
                      ปกครอง คือ โจเซฟ  พูลิตเซอร์ (Joseph Pulitzer) แต่ล้วนมีฐานความคิดจากแหล่งเดียวกัน

                      คือ อิสรภาพของมนุษยภาพแห่งความเป็นมนุษย์ที่พึงต้องมีความรับผิดชอบทางสังคมด้วย
                      ธรรมจรรยาเป็นต้นรากแก้วของหนังสือพิมพ์ในสังคมประชาธิปไตย


                            การศึกษา ณ วิทยาลัยอีตัน กับ “ทรงทำแต่สิ่งที่ดีเท่าที่จะกระทำได้” จากผลการ
                      สัมภาษณ์ของพฤทธิสาณ ชุมพล (2552) ได้อ้างอิงบทความชื่อ “A Thai Prince at Eton”

                      เขียนโดย Dr. Andrew  Gailley ผู้เป็น Vice-Provost (รองอาจารย์ใหญ่) ตีพิมพ์ในหนังสือชื่อว่า
                      The King and His Garden ซึ่งวิทยาลัยอีตัน เป็นผู้จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสที่ได้รับปรับโฉม
                      “สวนของพระมหากษัตริย์สยาม (The King of Siam’s Garden)” ของโรงเรียน และทำพิธีเปิด

                      ใหม่เมื่อเดือนมิถุนายน 2552 เดิมเมื่อปี พ.ศ. 2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
                      พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 2,000 ปอนด์ เพื่อจัดสวนนี้ขึ้น และต่อมาในปี

                      พ.ศ.2477 ได้เสด็จฯ ทอดพระเนตร จากบทความที่เกลี่ (Gailley, 2009 อ้างถึงใน พฤทธิสาณ
                      ชุมพล, 2552) เขียน ได้ “อ่านพระอุปนิสัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว” ว่า
                      พระองค์ทรงมีพระอุปนิสัย “การดำรงพระองค์อยู่ในทำนองคลองธรรม และพยายามทำแต่สิ่งที่

                      ดีเท่าที่จะกระทำได้สุดความสามารถเสมอ” เมื่อทรงเป็นนักเรียนอายุ 14-16 ปีอยู่ที่อีตัน และ
                      วิเคราะห์เชิงจินตนาการต่อไปว่า โรงเรียนนั้นมีส่วนอย่างไรในการบ่มเพาะพระอุปนิสัยนั้นให้เจริญ

                      งอกงาม จึงปรากฏเป็นพระวิสัยทัศน์เมื่อในภายหลัง ต้องทรงมีพระราชภารกิจโน้มนำสังคมและ
                      ประเทศสยามท่ามกลางขวากหนามจากทั้งภายนอกและภายในประเทศอย่างไร


                            เกลี่ เกริ่นนำว่า เขาคิดว่า สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกฯ พระชนม์เพียง 14 พรรษา ผู้มาจาก
                      สยามอันไกลโพ้นในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง น่าจะรู้สึกว่าอีตันและอังกฤษเป็นโลกที่แปลก

                      ประหลาดไม่น้อยทีเดียว ไม่ใช่เพียงเพราะสถาปัตยกรรมของหอประชุมหลังใหญ่ของโรงเรียน
                      ซึ่งออกจะมีลักษณะสามานย์ สำแดงอำนาจจักรวรรดินิยมของอังกฤษ แต่เพราะในปีถัดมา
                      อังกฤษได้ยึดรัฐบาลมลายู 3 รัฐ ไปจากการปกครองของสยาม


                            ในฐานะของนักเรียนสมัยนั้น เจ้าชายพระวรกายย่อมต้องการกีฬาชื่อว่า Field Game ของ

                      อีตันโดยเฉพาะ ซึ่งท้าทายความมีใจสู้และความอดทนเป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังต้องทรงวางพระองค์ให้
                      เป็นที่ยอมรับของผู้คน ในสภาพซึ่งเรียกร้องความจงรักภักดีต่อ “บ้าน” (house) หรือคณะที่
                      นักเรียนสังกัดอย่างจริงจังบิดพลิ้วมิได้อีกด้วย เหล่านี้ย่อมเป็นการเตรียมพระองค์สู่การที่จะต้อง

                      ทรงเป็นทหารหาญที่มีวินัยในภายหน้า แต่เกลี่รู้สึกว่า “ทรงชนะศึกอุปสรรคต่างๆ ได้ก็โดยการ
                      ชนะใจคนด้วยพระเสน่ห์ และการดำรงพระองค์อยู่ในทำนองคลองธรรมโดยแท้ (charm and

                      sheer decency) มากกว่าอย่างอื่น” ในด้านการเรียนนั้น ปรากฏว่าไม่นานครูได้บันทึกไว้ว่า
                      ทรง “ผลิตผลงานได้ดีเยี่ยม” ซึ่งเกลี่ เห็นว่า เป็นคำชมที่สูงส่งทีเดียว เพราะในสมัยนั้นครูมักจะ
                      มีท่าทีตำหนิเป็นพื้น แต่ในกรณีของพระองค์กลับชมด้วยว่าทรงเป็น “ผู้ที่ฉลาดที่สุดในกลุ่ม”

                      และ “ขยันยิ่ง มีระบบระเบียบ ตรงต่อเวลา ละเอียดถี่ถ้วน และพยายามทำแต่สิ่งที่ดีเท่าที่จะ
                      กระทำได้สุดความสามารถเสมอ” พระอุปนิสัยเหล่านี้ เกลี่ เห็นว่าไม่ได้เลือนหายไปเลยใน                  เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย

                      ภายหลัง
   413   414   415   416   417   418   419   420   421   422   423