Page 417 - kpi15476
P. 417

41      การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  หัตถเลขาช่วยจำของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง Problems of Siam
                  พระราชทานพระยากัลยาณไมตรี ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2469 และการสัมภาษณ์ พฤทธิสาณ

                  ชุมพล (2552) มีความสอดคล้องเชิงความคิดว่า “...แนวพระราชทัศนะหลักของพระบาทสมเด็จ
                  พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวคือ ‘ธรรมราชา’ กษัตริย์ที่ปกป้องคุ้มครองประชาชนเฉกเช่นพ่อคุ้มครอง
                  ลูก และใช้ธรรมในการปกครองโดยแนะนำให้ประชาชนประพฤติอยู่ในธรรมและจึงมีความสุขจาก

                  การนั้น...” แต่ในห้วงเวลาดังกล่าว ปัญหาที่พระองค์ทรงเผชิญคือ การคงไว้ซึ่ง (สถาบัน) ธรรม
                  ราชาในกระแส (โลก) ที่เร่งการเคลื่อนสู่ประชาธิปไตย


                       “การปกครองตนเองของประชาชน” เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมี
                  พระราชทัศนะหลักคือ “ธรรมราชา” และทรงเล็งเห็นปัญหาที่ทรงเผชิญอยู่ดังกล่าวข้างต้น

                  ทรงกำหนดเป็นยุทธศาสตร์สำคัญไว้ว่า ในฐานะ “พ่อ” จึงทรงเห็นว่าต้องแนะนำ (advise) ลูกให้
                  รู้จักวิธีปกครองตนเอง ประชาชนจึงเป็น “กลุ่มเป้าหมาย” (target group) ของพระราชกุศโลบาย

                  ทั้งนี้โดยให้ประชาชนเป็น “ฐานราก หรือรากแก้ว” (foundation) ของประชาธิปไตยในอนาคต
                  แต่ก็ทรงตระหนักว่า มนุษย์นั้นไม่บริสุทธิ์ผุดผ่อง (perfection) ดังนั้น ทั้งสมบูรณาญาสิทธิราชย์
                  และประชาธิปไตยที่ตั้งอยู่บนฐานความเป็นมนุษย์จึงอยู่ในฐานะที่อ่อนแอไม่แน่นอน (frail) อย่าง

                  หลีกเลี่ยงไม่ได้ทั้งคู่


                       “ทรงรู้ซึ้งในหลัก ‘อนิจจัง’ แห่งชีวิตของมนุษย์” เมื่อพิจารณาพระราชทัศนะหลักคือ
                  “ธรรมราชา” และการกำหนดพระราชกุศโลบาย “พ่อคุ้มครองลูก” ในพระบาทสมเด็จ
                  พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่า พระองค์ทรงมีความเข้าใจถึงหลักปรัชญา

                  ความเปลี่ยนแปลงแห่งชีวิตของมนุษย์อย่างลึกซึ้งในพระพุทธศาสนาด้วยทรงเป็น “ธรรมราชา”
                  และทรงสามารถวิเคราะห์ได้อย่างกระจ่างชัดได้ว่ามนุษย์นั้นไม่บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่สมบูรณ์อย่างที่

                  เชื่อกัน ดังนั้น ทั้งสมบูรณาญาสิทธิราชย์และประชาธิปไตยที่ตั้งอยู่บนฐานความเป็นมนุษย์จึงอยู่
                  ในฐานะที่อ่อนแอ ไม่แน่นอนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ทั้งคู่  แต่มนุษย์จึงจำต้องมีการรวมกลุ่มเพื่อ
                  สร้าง เพื่อทำ มนุษย์ต้องมีความรู้และข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องครบถ้วนจึงจะสามารถให้เหตุผล

                  ได้อย่างถูกต้อง


                       “ทรงทำแต่สิ่งที่ดีเท่าที่จะกระทำได้” ถึงแม้ว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
                  ทรงต้องเผชิญอยู่ในภาวะลำบาก “...การกำเนิดขึ้นของหนังสือพิมพ์ Free Press ทำให้
                  สถานการณ์ในขณะนั้นขยายตัวเลวร้ายมากขึ้น ฐานะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นสิ่งหนึ่ง

                  ที่ตกอยู่ในสภาวะลำบาก การเคลื่อนไหวทางความคิดในประเทศแสดงให้เห็นถึงสัญญาณอย่าง
                  ชัดเจนว่า เวลาของระบอบราชาธิปไตยเหลือน้อยลงเต็มที่...พระเจ้าแผ่นดินควรยินยอมที่จะทำแต่

                  สิ่งที่ดีเท่าที่จะกระทำได้...” ทรงอรรถาธิบายไว้ในพระราชหัตถเลขาเรื่อง Problems of Siam
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   ประชาชนเพื่อประชาชนได้นั้น ก็คือ อุดมคติอันสูงส่ง ความห่วงใยอย่างจริงใจในอันที่จะปฏิบัติใน
                  ได้บ่งชี้พระราชทัศนะของพระองค์ได้ว่า สิ่งที่จะช่วยให้กิจการหนังสือพิมพ์เป็นสมบัติอันมีค่าของ



                  สิ่งที่ถูกต้อง การมีความรอบรู้อย่างกระจ่างชัดในปัญหาต่างๆ ที่ต้องเผชิญ และความรู้สึกอย่าง
                  จริงใจในความรับผิดชอบทางธรรมจรรยาด้วยหลักการปกครองธรรมราชา “พ่อคุ้มครองลูก”

                  ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยึดถือและใช้ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ นี่เป็น
   412   413   414   415   416   417   418   419   420   421   422