Page 419 - kpi15476
P. 419

41      การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                       แม้รายงานของครูจะบอกว่าทรงปรับพระองค์ได้ดี แต่เกลี่ เชื่อว่า น่าจะทรงรู้สึกว้าเหว่ใน
                  ช่วงแรก และจินตนาการว่าที่ทรงพระเกษมสำราญได้เร็ว ก็เพราะที่อีตันทรงปลอดจากการมีคน

                  ติดตามดูแลทุกฝีก้าวเช่นที่ในวังในสยามประเทศ จึงทรงมีเสรีภาพพอควรที่จะทรงแสวงหาความรู้
                  ความเข้าใจในสิ่งที่พระองค์สนพระทัยเป็นการส่วนพระองค์ ทั้งนี้เพราะ แม้อีตันจะเข้มงวดในวินัย
                  แต่ก็เปิดช่องให้เด็กได้พัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง ในกรณีของพระองค์ ครูที่ปรึกษาหนุ่มน่าจะมี

                  บทบาทสำคัญในการหนุนเนื่องจากความสนพระทัยในศิลปะ และความเห็นแก่เพื่อนมนุษย์ให้
                  งอกงามในพระองค์ จนเป็นพระจริยวัตรสืบมา


                       ในขณะเดียวกันการที่ได้ประทับในอังกฤษเอื้อให้พระองค์ได้ทรงตระหนักถึงข้อดีและข้อเสีย
                  ของสังคมอุตสาหกรรม จึงปรากฏเป็นพระราชทัศนะเชิงวิสัยทัศน์ที่ว่า การเปลี่ยนแปลงสู่ความ

                  เป็นสมัยใหม่แม้จะจำเป็น แต่หากรวดเร็วเกินไปจะเสี่ยงต่อการทำลายเยื้อใยที่ถักทอสังคมไว้
                  จนอาจนำไปสู่การปฏิวัติประชานิยม (populist revolution) หลังจากนั้นไม่กี่ปี กระแสดังกล่าวได้

                  ท้าทายระบอบอัตตาธิปไตย (autocracies) ในหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัสเซีย เมื่อ
                  ค.ศ.1917 (พ.ศ.2460) จะมีก็แต่อังกฤษเพียงประเทศเดียวที่รอดพ้นมาได้ ซึ่งก็ด้วยเสถียรภาพ
                  อันเนื่องมาจากประวัติศาสตร์ของวิวัฒนาการยาวนาน สู่ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญและ

                  การปกครองแบบมีตัวแทนในรัฐสภา เป็นคำตอบที่ครูที่อีตันในสมัยของพระองค์พร่ำสอนนักเรียน
                  อยู่ทุกเมื่อ


                       ประชาธิปกเยาวราชกุมาร จะทรงเข้าพระทัยในบทเรียนดังกล่าวเพียงใด เกลี่ ยอมรับว่า
                  เป็นเรื่องที่ต้องคาดเดากันไป แต่เขามั่นใจว่า ย่อมจะทรงชื่นชมความเป็นปึกแผ่นมั่นคงของสถาบัน

                  พระมหากษัตริย์ในอังกฤษ และแล้วเมื่อต้องทรงครองราชย์สมบัติ ก็ได้ทรงพยายามใช้แนวทาง
                  แบบค่อยเป็นค่อยไปของอังกฤษนั้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสยามสู่ประชาธิปไตย หากแต่ว่า

                  หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งมีวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำระดับโลกโถมเข้าซ้ำเติมในช่วงคริสต์ศตวรรษ
                  1930 ดังนั้น การที่สยามได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งรีบเป็นระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
                  เมื่อ พ.ศ.2475 จึงไม่เอื้อต่อความมีเสถียรภาพของระบอบนั้นเท่ากับในหลายสิบปีให้หลังคือ

                  ในช่วงท้ายๆ ของศตวรรษที่ 20 ด้วยเหตุนี้


                       พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความเข้าใจในหลักปรัชญาอย่างกว้างขวางและ
                  ลุ่มลึกได้เช่นนี้ นอกจากการศึกษาที่วิทยาลัยอีตันดังกล่าวข้างต้นแล้ว อีกส่วนหนึ่งมาจากพระ
                  อุปนิสัยส่วนพระองค์ที่ทรงโปรดการอ่านหนังสือและความเป็นนักอ่านของพระองค์ ดังสะท้อนได้

                  จากทรงมีหนังสือส่วนพระองค์อยู่หลายร้อยเล่มหลายประเภทหลายภาษา ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น
                  “ตู้ทองแห่งการทรงศึกษาตลอดพระชนม์ชีพ” ของพระองค์ ดังความตอนหนึ่งที่ พฤทธิสาณ

                  ชุมพล (2552) เล่าให้ฟังว่า
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย     ...ย้อนคิดคำนึงถึงหนังสือส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จ



                       พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวหลายร้อยเล่ม...

                       เชื่อว่ามีหนังสือเก่าและหนังสือหายากที่น่าสนหลายประเภท
                       หลายภาษาซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น “ตู้ทองแห่งการศึกษาตลอดพระชนม์ชีพ”
   414   415   416   417   418   419   420   421   422   423   424