Page 422 - kpi15476
P. 422

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   421


                      แผ่นดิน เจ้าพระยามหิธรรับพระบรมราชโองการไปยังอภิรัฐมนตรี 1 มิถุนายน 2475) ช่วย
                      ยืนยันถึงหลักการสำคัญของสังคมประชาธิปไตยที่ว่า หนังสือพิมพ์ของสยามประเทศขณะนั้นได้รับ

                      โอกาสในการเปิดประเด็นอภิปรายถกเถียงอย่างเสรี ให้ข่าวสารแก่ประชาชน และข่าวสารนั้น
                      ได้กลายมาเป็นความรู้ และมีการตามล่าหาความจริง เรื่องมนุษยภาพ และการสร้างจิตสำนึก
                      การเมืองของคณะสุภาพบุรุษโดยการนำของนายกุหลาบ สายประดิษฐ์ จนกลายมาเป็นสัจจะ

                      ความจริง หรืออุดมการณ์ในช่วงเวลานั้น สอดรับกับการอธิบายของสุกัญญา สุดบรรทัด (2544)
                      ในประเด็นที่ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างข่าวสาร (information) ความรู้ (knowledge) สัจจะ ความจริง

                      หรืออุดมการณ์ (truth) กับบทบาทของหนังสือพิมพ์ในสังคมไทย ซึ่งพัฒนาไปสู่ความเป็นสังคม
                      เปิดและประชาธิปไตยอย่างเป็นขั้นตอนได้


                            ด้วยข้ออุเทศดังกล่าวข้างต้น ช่วยตอกย้ำการปฏิบัติการของสื่อหนังสือพิมพ์และภาพยนตร์
                      ได้ใช้สิทธิของสื่อมวลชนในการแสวงหาข่าวสาร เพื่อนำความรู้ ความจริง “มนุษยภาพ และการ

                      สร้างจิตสำนึกทางการเมือง” ไปประกอบการวินิจฉัยตัดสินตามทำนองคลองธรรมของระบอบ
                      ประชาธิปไตยต่อไป ได้ใช้สิทธิในการพิมพ์โดยไม่ต้องมีการเซนเซอร์จากรัฐบาล ได้ใช้สิทธิในการวิ
                      พากษ์วิจารณ์ หนังสือพิมพ์ในสมัยต้นรัชกาลที่ 7 ได้ทำหน้าที่ “ผู้เฝ้าดู และตรวจสอบรัฐบาล” ซึ่ง

                      หนังสือพิมพ์และภาพยนตร์มีสิทธิในการรายงานข่าวภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย เพราะทุกคนใน
                      สังคมต้องอยู่ภายใต้กฎหมายด้วยกันทุกคน เรียกว่า อยู่ในขอบเขตแห่งสัญญาประชาคมเดียวกัน

                      สัญญาประชาคมนี้ รุสโซกล่าวว่า เป็นข้อตกลงร่วมกันของทุกคนในสังคม เพื่อให้เกิดความ
                      ยุติธรรมแก่บุคคลทุกผู้ทุกนาม


                            แม้เมื่อหนังสือพิมพ์ใช้เสรีภาพที่ได้รับอย่างขาดความรับผิดชอบของความเป็นสื่อมวลชนที่ดี
                      ก็ตาม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ยังทรงเลือกใช้พระเดชที่อยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์

                      ให้เป็นพระคุณแทน ดังแบตสัน (Batson 1984) และสุกัญญา  สุดบรรทัด (2543) และการ
                      สัมภาษณ์ วิษณุ  เครืองาม  สนธิ  เตชานันท์ และธงทอง  จันทรางศุ (2552) ต่างเห็นพ้อง
                      ต้องกันว่า ช่วงเวลาก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ปกครองในระบอบ

                      สมบูรณาญาสิทธิราชย์ หนังสือพิมพ์กลับมีเสรีภาพมากกว่าหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
                      พ.ศ.2475 โดยคณะราษฎรเสียอีก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติต่อ

                      หนังสือพิมพ์ค่อนข้างยืดหยุ่น ส่วนมากแล้ว มักจะเป็นการตักเตือนมากกว่าจะสั่งปิด ถ้าสั่งปิด
                      ก็มักจะเป็นการชั่วคราว ยกเว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่าทำผิดร้ายแรงทางการเมืองมากๆ ที่หมิ่น
                      พระบรมเดชานุภาพอย่างรุนแรง ดังเช่นหนังสือพิมพ์ สยามรีวิว และหนังสือพิมพ์ ราษฎร ถูกสั่ง

                      ปิดถาวร นี่คือความเป็นจริงเชิงประจักษ์ที่เกิดขึ้นจริงเมื่อทรงมีอำนาจ การปกครองอยู่ในพระหัตถ์
                      พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยึดหลักในหลักการเสรีภาพของหนังสือพิมพ์จริงตามที่

                      ทรงระบุไว้ในลายพระราชหัตถเลขา ทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2477 ความว่า
                      “...เมื่อครั้งก่อนมีรัฐธรรมนูญหนังสือพิมพ์ มีเสรีภาพกว่าเดี๋ยวนี้เป็นอันมาก...” มิใช่เพียงเป็นการ
                      “ตีฝีปาก” ของผู้ที่หลุดจากอำนาจแม้แต่น้อยเลย หรือมิได้พูดเกินความเป็นจริง


                            หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ในรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา และ                       เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย

                      รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา มีการใช้ระบบตรวจสอบข่าว หรือเซนเซอร์ข่าวก่อนตีพิมพ์
   417   418   419   420   421   422   423   424   425   426   427