Page 421 - kpi15476
P. 421

420     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  ทรงมีพระเดชอยู่ในพระหัตถ์ระหว่าง พ.ศ.2468 ถึง พ.ศ.2475 ก่อนการเปลี่ยนแปลงการ
                  ปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ทรงมีพระราชอำนาจปกครองแผ่นดินอย่างเด็ดขาดใน

                  ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็ตาม แต่ทรงใช้ให้เป็นพระคุณแทนดังกล่าวข้างต้น ช่วยให้
                  หนังสือพิมพ์และภาพยนตร์ได้เป็นสื่อเสรีของประชาชนอย่างแท้จริง


                       การเปิดตลาดเสรีทางความคิดให้แก่สื่อหนังสือพิมพ์และภาพยนตร์ นับเป็นตัวบ่งชี้สำคัญ
                  ของการมีเสรีภาพของประชาชนอย่างแท้จริงเชิงประจักษ์ในสมัยต้นแห่งแผ่นดินพระบาทสมเด็จ

                  พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวระหว่าง พ.ศ.2468 ถึง พ.ศ.2475 ก่อนการก่อการยึดอำนาจเพื่อ
                  เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 พระองค์ทรงเลือกใช้พระราชอำนาจให้
                  เป็นพระคุณต่ออาณาประชาราษฎร์ของพระองค์ โดยทรงเปิดตลาดเสรีทางความคิดให้แก่สื่อ

                  หนังสือพิมพ์และภาพยนตร์ ดังมีการให้สามัญชนเป็นเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์และภาพยนตร์ได้
                  อย่างเสรี และให้หนังสือพิมพ์มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการแสดงความคิดเห็นเป็นดัชนีบ่งชี้ คือ

                  สามัญชนมีเสรีภาพในการเป็นเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์รายใหม่ประเภทรายวันเพิ่มขึ้นจำนวน
                  56 ชื่อฉบับ เท่ากับเป็นการเปิดช่องทางการสื่อสารในการแสดงความคิดเห็นผ่านทางหน้า
                  หนังสือพิมพ์ ทำให้เกิดกระแสการไหลเวียนการสื่อสารการเมืองอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งทรงเปิด

                  โอกาสและสนับสนุนให้ชาวสยามให้เป็นเจ้าของกิจการโรงภาพยนตร์และนำเข้าภาพยนตร์ ถือเป็น
                  ยุคทองของภาพยนตร์ อีกดัชนีบ่งชี้สำคัญหนึ่งคือ หนังสือพิมพ์มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการแสดง

                  ความคิดเห็นภายใต้ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แห่งแผ่นดินของพระองค์ คือ มีเนื้อหาอิสรเสรีใน
                  2 ประเด็นหลัก ได้แก่ ประเด็นหลักแรก คือ การชี้ภาวะวิกฤตของบ้านเมืองด้านการดุลยภาพ
                  ข้าราชการ ความเสียเปรียบของประชาชนเรื่องเงินรัชชูปการ เตือนสติและให้ข้อคิด ส่วนประเด็น

                  ที่สองคือการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองด้านการเผยแพร่ลัทธิบอลเชวิค การเรียก
                  ร้องให้ตั้งสภาราษฎร์หรือสภาราษฎร การใช้ความรุนแรงในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ด้วย

                  วิธีการสื่อสารเหตุการณ์และความคิดความเห็นดังกล่าวผ่านการรายงานข่าวและบทความเป็น
                  ร้อยแก้ว และนิยมเขียนเป็นกลอนลำตัดการเมืองเสียดสีขุนนางเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่อย่างดุเดือด
                  เผ็ดร้อนในช่วงต่อระหว่างสมัยรัชกาลที่ 6 กับสมัยต้นรัชกาลที่ 7


                       จากสภาพของการเปิดตลาดเสรีทางความคิดให้แก่หนังสือพิมพ์และภาพยนตร์ดังกล่าว

                  ข้างต้น ช่วยสะท้อนได้ว่า สยามประเทศในสมัยต้นรัชกาลที่ 7 ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
                  พ.ศ. 2475 ในขณะนั้นอยู่ระหว่างการเจริญเติบโตของกระบวนการสังคมเปิดในลักษณะที่ผู้วิจัย
                  เรียกว่า “สังคมประชาธิปไตยในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์” เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ

                  ผลการสัมภาษณ์วิษณุ เครืองาม ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา ธงทอง จันทรางศุ และธเนศ
                  อาภรณ์สุวรรณ (2552) เกี่ยวกับ อำนาจของพระมหากษัตริย์ แม้จะมีรูปแบบเป็น
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   หัวทรงวิเคราะห์สภาพบ้านเมืองไว้ว่า “...อนึ่ง พระราชดำริเห็นว่า ใช้วิธีการปกครองแบบ
                  สมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ในการปฏิบัติกลับมีความเป็นประชาธิปไตย ด้วยมีความห่วงใยในทุกข์
                  สุขของประชาชน ไม่เลือกชนชั้น ชาติและศาสนา ประกอบกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่



                  dictatorship แต่ไม่ใช่วิธีการอย่างอื่นๆ ของ dictatorship กลับใช้ลักษณะของ democracy
                  หลายอย่าง...” (เอกสาร ร.7 บ. 3 7/70 พระราชนิยมเรื่องคิดจะเปลี่ยนแปลงการปกครอง
   416   417   418   419   420   421   422   423   424   425   426