Page 416 - kpi15476
P. 416

เสรีภาพของนักหนังสือพิมพ์ไทย

                            ใน “ธรรมราชา”

                            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

                            ศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์  ดีสมโชค*







                                  ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นในองค์พระบาทสมเด็จ
                            พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระเมตตาต่ออาณาประชาราษฎร์แห่งแผ่นดิน
                            ของพระองค์จนสามารถฟันฝ่าและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขไมตรีสืบต่อมา ทั้งๆ

                            ที่เกิดความขัดแย้งทางความคิดระบอบการปกครอง ดังสะท้อนได้จากข้อค้นพบ
                            ในอีกมิติหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระคุณแห่งธรรม

                            ราชา “พ่อคุ้มครองลูก” เพื่อเปิดโอกาสเสรีภาพให้ประชาชนได้ปกครองตนเอง
                            โดยเฉพาะสื่อหนังสือพิมพ์ได้เป็นตัวแทนแห่งพลังขับเคลื่อนความคิดเห็นของ
                            สามัญชนเกี่ยวกับการวิจัยเรื่อง “แนวความคิดและวิธีการสื่อสารการเมืองใน

                            รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่าง พ.ศ. 2468 ถึง พ.ศ.
                            2477” (พรทิพย์  ดีสมโชค, 2553) ดังอรรถาธิบายดังต่อไปนี้


                                    “ธรรมราชา” ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับ
                               “เสรีภาพของประชาชนฐานรากของหนังสือพิมพ์และภาพยนตร์”


                                  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำรงพระองค์เป็น “ธรรมราชา”

                            นับเป็นรากแก้วของแนวพระราชทัศนะ” เสรีภาพของประชาชนฐานรากของ
                            หนังสือพิมพ์และภาพยนตร์” มีข้ออภิปราย 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) ธรรมราชา
                            “พ่อคุ้มครองลูก” และ (2) การใช้พระคุณของ “ธรรมราชา” เพื่อสร้าง

                            “เสรีภาพของประชาชน ฐานรากของหนังสือพิมพ์และภาพยนตร์” ดังนี้


                                  ธรรมราชา “พ่อคุ้มครองลูก” พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
                            ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ใน 2 ระบอบการปกครอง กล่าวคือ ในระหว่าง

                            พ.ศ.2468 ถึง พ.ศ.2475 ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24
                            มิถุนายน 2475 พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบการปกครอง
                            สมบูรณาญาสิทธิราชย์กับในระหว่าง พ.ศ.2475 หลังการเปลี่ยนแปลงการ

                            ปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ถึง พ.ศ.2477 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์
                            ที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ไม่ว่าพระองค์จะทรงอยู่ในระบอบการปกครองใด

                            ทรงมีพระราชทัศนะและถือหลัก “ธรรมราชา” เสมอมา สะท้อนจากพระราช


                              *  สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
   411   412   413   414   415   416   417   418   419   420   421