Page 420 - kpi15476
P. 420

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   419


                            ของพระองค์ ดังนั้นจะมีหนทางใดหนอที่ผู้เกี่ยวข้องจะได้ร่วมมือกันจัดทำ
                            ฐานข้อมูลเบื้องต้นว่ามีอะไรบ้างก็จะช่วยให้เห็นภาพว่า

                            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยทรง หรืออย่างน้อย
                            เคยทรงมีหนังสือประเภทต่างๆ หลากหลายเพียงใด จะช่วยให้ผู้สนใจ
                            “พระปกเกล้าศึกษา” ได้ภาพเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความเป็นนักอ่านของพระองค์...


                                          (การสัมภาษณ์ ม.ร.ว.พฤทธิสาณ  ชุมพล วันที่ 7 มิถุนายน 2552)


                            “ปลูกฝังรากแก้วให้ประชาชนปกครองตนเองได้” พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
                      ทรงกำหนดยุทธวิธีโดยทรงวางแนวทางเคลื่อนจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และทรงหาทางทำให้

                      มั่นใจได้ว่าประชาธิปไตยในอนาคตจะมั่นคงตามควร โดยการปลูกฝัง ‘รากแก้ว’ ให้ปกครอง
                      ตนเองได้ แต่ขณะ เดียวกันก็ทรงเห็นคุณค่า (value) ของธรรมราชาที่ควรคงมีอยู่ในสยาม

                      ประเทศ ทรงหาทางออกโดยการนำแนวความคิดเรื่อง Constitutional monarchy มาปรับใช้
                      (adapt) ทรงหวังว่าอาจจะทำให้เกิดความลงตัวได้


                            การใช้พระคุณแห่ง “ธรรมราชา” เพื่อสร้าง “เสรีภาพของประชาชน ฐานรากของ
                      หนังสือพิมพ์และภาพยนตร์” ด้วยความเป็น “ธรรมราชา” ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า

                      เจ้าอยู่หัว กษัตริย์ที่ปกป้องคุ้มครองประชาชนเฉกเช่นพ่อคุ้มครองลูก และใช้ธรรมในการปกครอง
                      โดยแนะนำให้ประชาชนประพฤติอยู่ในธรรมและจึงมีความสุขจากการนั้น การที่ประชาชน คือ
                      ลูกของพระองค์จะสามารถปกครองตนเองได้ ประชาชนจึงจำเป็นต้องมีเสรีภาพในการแสดงความ

                      คิดเห็นและการแสดงออกทั้งในด้านการพูด การเขียน การพิมพ์ และการโฆษณาเป็น
                      องค์ประกอบสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามแนวความคิดเรื่อง Constitutional

                      monarchy ที่พระองค์ทรงนำมาปรับใช้ ทรงเล็งเห็นว่า ทั้งหนังสือพิมพ์และภาพยนตร์จัดเป็น
                      สื่อสารมวลชนที่สามารถมาช่วยทำหน้าที่สนองการรับรู้ (right to know) ของประชาชน เพื่อ
                      รายงานข่าวให้ประชาชนได้รู้ เป็นการให้การศึกษาแก่ประชาชนในเบื้องต้น และทำหน้าที่เป็น

                      ตลาดเสรีแห่งความคิดเห็น (free market place of all views) ให้แก่ประชาชน เป็นการเสนอ
                      ความคิดเห็นของผู้ผลิตสื่อ และเสนอความคิดเห็นของผู้รับสาร เป็นเวทีสาธารณะที่สามารถแลก

                      เปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นกันและกันได้ เพื่อประกอบการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ อันเกี่ยวกับ
                      กิจการบ้านเมือง ขณะเดียวกันก็นำข่าวสารข้อมูลและความคิดเห็นจากประชาชนไปเสนอแก่
                      รัฐบาล เพื่อจะได้นำไปใช้ประกอบการพิจารณาบริหารงานให้ตรงกับความต้องการของประชาชน

                      มากที่สุด


                            พระคุณแห่ง “ธรรมราชา” พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเลือกใช้พระคุณ
                      แห่ง “ธรรมราชา” ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสิทธิเสรีภาพให้แก่ประชาชนในการได้
                      รับข่าวสารข้อมูลและการแสดงความคิดเห็น ส่งผลให้สื่อหนังสือพิมพ์และภาพยนตร์มีเสรีภาพ

                      ตามไปด้วย ทรงให้โอกาสสื่อหนังสือพิมพ์และภาพยนตร์ได้แสดงบทบาทและหน้าที่ของสื่อมวลชน
                      อย่างเต็มที่ รัฐไม่มีระบบผูกขาดสื่อ ไม่มีระบบผูกขาดความคิด รัฐบาลจะไม่เข้าไปตรวจข่าว หรือ          เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย

                      เซนเซอร์ข่าวก่อนตีพิมพ์ หรือไม่แทรกแซงสื่อเป็นอันขาดในรัชสมัยของพระองค์ ทั้งๆ ที่พระองค์
   415   416   417   418   419   420   421   422   423   424   425