Page 81 - kpi15476
P. 81
0 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
อารัมภบท
“สุโขทัยธรรมราชา” เป็นพระนามทรงกรมของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา-
ประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่วาระที่ได้ทรงโสกันต์เมื่อพระชันษา 12 ปี ย่างเข้าสู่
วัยรุ่นหลังจากนั้นถึง 20 ปี จึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบ
“สมบูรณาญาสิทธิราชย์” 7 ปี และในระบอบ “ประชาธิปไตย” 2 ปี ซึ่งในช่วงเวลา 9 ปี ที่ทรง
เป็นพระมหากษัตริย์อยู่นั้น มีผู้รู้ทั้งชาวตะวันออก คือ กวีปราชญ์รพินทรนาถ ฐากูร และ
ชาวตะวันตก คือ นายเรย์มอนด์ บี. สตีเวนส์ ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ใช้พระอิสสริยยศสมเด็จ
เจ้าฟ้าและ/หรือพระนามทรงกรมนี้ในการทูลเกล้าฯ ถวายเอกสารซึ่งมีลักษณะเป็นการส่วน
พระองค์หรือกึ่งทางการ [พฤทธิสาณ 2537:99 ; Stevens, 2474] อีกทั้งเมื่อได้ทรงสละ
ราชสมบัติแล้ว พระองค์ก็ได้ทรงกลับมาใช้พระนามทรงกรมนี้อีกในภาษาอังกฤษ [ราชเลขาธิการ
2531:93] รวมความว่าพระนามทรงกรมนี้ไม่ผูกพระองค์ติดอยู่กับการเป็นพระมหากษัตริย์
ผมจึงเห็นเหมาะที่จะใช้พระนามทรงกรมนี้ประกอบชื่อบทแสดงทัศนะของผมในเวทีแสดง
ทัศนะเรื่อง “ธรรมราชากับคุณธรรมของผู้ปกครองในระบอบประชาธิปไตย” ในการประชุม
ประจำปีในวาระครบ 10 รอบนักษัตรแห่งพระบรมราชสมภพ เพื่อที่จะสื่อว่าผมกำลังจะนำเสนอ
ทัศนะของผมเกี่ยวกับพระคุณธรรมของพระองค์ในฐานะบุคคลๆ หนึ่ง ซึ่งเกิดมาในสยามเมื่อ
120 ปี มาแล้ว ซึ่งชะตาชีวิตได้ผกผันให้ต้องรับภารกิจหน้าที่เป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบการ
ปกครองที่ถือคติ “ธรรมราชา” เป็นคติหนึ่งที่สำคัญมานาน อย่างน้อยตั้งแต่สมัยที่กรุงสุโขทัย
เป็นราชธานี
แต่ทั้งนี้มิใช่ว่าสิ่งที่ผมจะนำเสนอจะไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นพระมหากษัตริย์ของพระองค์
ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่ว่าในกรณีใดผู้ใดก็ตาม ผู้แสดง “ย่อมต้องบริหารความสัมพันธ์ระหว่างตน
กับบท” ที่ตนแสดงหรือ “หัวโขน” ซึ่งตนสวมอยู่ ในฐานะมนุษย์เขาย่อมมีอุปนิสัยใจคอตลอดจน
หลักการความเชื่อที่ยึดถือในตนเองอยู่แล้ว และย่อมต้องนำสิ่งเหล่านั้นมาใช้ในกรณีการ “ตีบท
ให้แตก” เท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้ในสถานการณ์การแสดงซึ่งเขาเองคุมไม่ได้ทั้งหมด เพราะขึ้นอยู่กับ
ผู้แสดงคนอื่นบนเวทีและผู้ชมรอบเวทีด้วย ผู้วิเคราะห์ที่มีใจเป็นธรรมย่อมตั้งนำสิ่งเหล่านี้เข้ามา
ประกอบในการวิเคราะห์เพื่อชี้ว่าเขาแสดงบทได้เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด ซึ่งในที่นี้เกณฑ์วัด
คุณธรรมของผู้ปกครองก็คือคติ “ธรรมราชา”
ผมไม่อาจทำหน้าที่ดำเนินการวัดและประเมินตามเกณฑ์นั้นได้ ด้วยขาดความรู้ความชำนาญ
ในคตินั้น แต่โดยที่ในทางส่วนตัว ผมศึกษาพระ (ราช) กรณียกิจในองค์สุโขทัยธรรมราชามาพอ
สมควรโดยได้ มุ่งไปที่พระคติประจำพระ(ราช)จริยวัตร จึงจะนำเสนอการ “ยำรวม” หรือจะเรียก
เอกสารประกอบการอภิปราย ประชุมครั้งนี้สัก 4 ชุดด้วยกัน และนำมา “จับใส่ในกล่อง” “ทศพิธราชธรรม” ทั้ง 10 ข้อ ให้
ให้เก๋ก็คงได้ว่า “บทสังเคราะห์” ความรู้ความเข้าใจเหล่านี้ออกมาเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการ
พอเป็นเค้าไว้ให้ผู้ทรงภูมิรู้ดีกว่าผมได้กลั่นกรองต่อไป