Page 82 - kpi15476
P. 82

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15    1


                            แต่ก่อนนี้จะทำเช่นนั้น ผมคิดคำนึงขึ้นมาได้ว่า การได้รับการศึกษาอบรมให้มีความรู้และ
                      ฝึกฝนจิตใจอย่างเป็นระบบระเบียบเป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับผู้ที่จะเป็นผู้ปกครองทั้งตามคติ

                      ธรรมราชา และคติราชาปราชญ์ของเพลโต (Plato’s Philosopher King) ดังนั้นจึงขอเริ่มด้วยการ
                      พิจารณาถึงการทรงศึกษาฝึกฝนขององค์สุโขทัยธรรมราชา เพราะไม่เคยเห็นว่า มีผู้ใดได้วิเคราะห์
                      พระราชประวัติส่วนนี้ไว้อย่างเป็นกระบวนการเดียวกันมาก่อน



                      ศึกษิตสิกขา : ที่มาแห่งพระคุณธรรม



                            ดังที่ทราบกัน องค์สุโขทัยธรรมราชาทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าพระองค์สุดท้าย

                      ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระองค์สุดท้องในสมเด็จพระศรีพัชรินทรา
                      บรมราชินีนาถ (พระพันปีหลวง) โดยทรงมีพระเชษฐาพระชนนีเดียวกันถึง 6 พระองค์ เมื่อ
                      ประสูติและทรงพระเยาว์จึงไม่มีผู้ใดคาดคิดว่าวันหนึ่งพระองค์จะต้องทรงเป็นพระมหากษัตริย์

                      การศึกษาอบรมของพระองค์ก็คงจะไม่ได้เป็นไปอย่างเข้มข้นเพื่อการนั้น หากแต่เป็นไปตาม
                      ประเพณีของขัตติยราชกุมาร รายละเอียดเป็นเช่นใดนับว่าหาข้อมูลได้ยาก แต่ก็พอมีว่าทูล

                      กระหม่อมพ่อและสมเด็จแม่ของพระองค์ทรงถนอมเลี้ยงพระองค์ไว้ใกล้ชิดพระองค์ แต่ได้ทรงมอบ
                      ให้เจ้าจอมเยื้อนในรัชกาลที่ 5 หม่อมเจ้าหญิงมนัศสวาสดิ์ (ในรัชกาลที่ 7 ทรงเป็นพระองค์เจ้าหญิง)
                      และหม่อมเจ้าหญิงโพยมมาลย์เป็นพระอภิบาล [ผ่องพันธ์ 2520:12] สมเด็จเจ้าฟ้าฯทรงเล่นกับ

                      พระเชษฐาพระชันษาใกล้กันทั้งพระมารดาเดียวกันและต่างกัน และกับหม่อมเจ้าชายหญิงและ
                      ธิดาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ซึ่งสมเด็จแม่ทรงพระราชอุปการะเลี้ยงดูไว้หลายพระองค์หลายคน


                            หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา พระสหายผู้หนึ่งเขียนเล่าไว้ว่า เมื่อหม่อมอายุ 9 ปี
                      และพระองค์พระชันษา 4-5 ปี พระเชษฐาทรงกำหนดให้พระองค์ทรงเล่นเป็นพระราชา คัดเลือก

                      และดูแลพระมเหสีและเจ้าจอมไปในการเสด็จประพาสทางเรือ องค์ประชาธิปกทรงเลียนแบบ
                      อากัปกิริยาและวิธีการที่ทรงสังเกตเห็นในชีวิตจริงได้เป็นอย่างดี [ศรีพรหมา 2550:78-80] การที่
                      ได้ทรงเรียนรู้มาด้วยวิธีการสังเกตด้วยพระองค์เองเช่นนี้กระมัง ซึ่งเป็นเหตุให้เมื่อทรงครองราชย์

                      แล้ว ทรงมีพระราชดำรัสแก่ลูกเสือให้ฝึกสังเกตหาเหตุผลของสิ่งและคิดอย่างเป็นวิทยาศาสตร์
                      ไม่เชื่ออะไรอย่างงมงาย ทั้งนี้ มิควรเข้าใจว่าพระองค์ทรงชื่นชอบที่จะทรงแสดงบทเป็นพระเจ้าอยู่หัว

                      เพราะผู้ใหญ่เล่าสืบต่อกันมาด้วยว่า การเล่นลักษณะนี้มีมากกว่าหนึ่งครั้ง และบ่อยครั้ง
                      พระราชโอรสรุ่นเยาว์ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราฯจะไม่ทรงยอมแสดงบทเป็นพระเจ้าอยู่หัวและ
                      รับสั่งกันว่า “ยกให้พี่แดงก็แล้วกัน” ซึ่งหมายถึงถวายบทนั้นแก่สมเด็จฯเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช

                      พระราชโอรสในสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี (พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) ทรงถ่อม
                      พระองค์ว่าทรงเป็นน้อง การทรงมีความเคารพในผู้ที่มีวัยวุฒิกว่าพระองค์ดูจะได้เป็นพระอุปนิสัย

                      แต่นั้นมา แต่จากที่ได้เล่ามาก็มิใช่ว่ามิได้ทรงมีภูมิรู้หรือความสามารถในพระองค์เอง


                            ครั้นเจริญพระชันษาขึ้น สมเด็จพระศรีพัชรินทรา ฯได้โปรดเกล้าฯให้ศึกษาในโรงเรียน
                      ราชกุมารโดยมีพระราชหัตถเลขาพระราชทานเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว.เปีย
                      มาลากุล) ให้จัดหาครูถวายพระอักษรโดยทรงกำชับไม่ให้ตามพระทัย แต่ให้กวดขันด้วยเหตุด้วยผล              เอกสารประกอบการอภิปราย
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87