Page 86 - kpi15476
P. 86

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15    5


                               “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นก็เหมือนกับประชาธิปไตยในข้อที่ว่า อาจเป็นภัย
                         อันตรายขึ้นเมื่อใดก็ได้ เพราะหลักการของทั้งสองระบอบนี้ขึ้นอยู่กับความประเสริฐสุดของ

                         ธรรมชาติของมนุษย์ อันเป็นสิ่งที่อ่อนแอเหลือเกินที่จะพึ่งพาอาศัยได้ ระบอบประชาธิปไตย
                         ที่มั่นคงนั้นก็ขึ้นอยู่กับจิตใจอันมั่นคง (ในการใช้เหตุใช้ผล) ของประชาชน และระบอบ
                         สมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นก็ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ เฉพาะพระองค์ของพระเจ้าแผ่นดิน”

                         (ปัญญา สติและคุณธรรม)


                            ข้อความในวงเล็บ ผมขอเพิ่มเป็นการขยายความเพื่อความกระจ่าง

                            ประเด็นของพระองค์ก็คือ ทั้งสองระบอบหลงเชื่อว่า มนุษย์ไม่ว่าจะเป็นประชาชนหรือ

                      พระเจ้าแผ่นดิน ใช้เหตุผลเสมอในการตัดสินใจ จึงนับเป็นข้ออ่อนของทั้งสองระบอบ


                            ดังนั้นในฐานะนักคิด พระองค์จึงทรงมีความสงสัยเกี่ยวกับทั้งสองระบอบว่า “ดี” จริง
                      หรือไม่? แต่ในฐานะที่ทรงเป็นผู้มีหน้าที่ใน “การจัดการปกครอง” (Governance) และ
                      ทรงทราบ (รู้และเข้าใจ) ด้วยพระปัญญาว่า ประชาธิปไตยกำลังเป็นที่ใฝ่หาของผู้คน ยากที่สยาม

                      จะหลีกเลี่ยงกระแสธารแห่งประวัติศาสตร์นั้นได้ จึงได้ทรงใช้พระสติจัดวางกลไกต่างๆ อย่างเป็น
                      ระบบ เพื่อปรับเปลี่ยนระบอบการปกครองของสยามไปในทางนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงความระส่ำระสาย

                      ขัดแย้งจนมีการเลือดเนื้อในแผ่นดิน แสดงถึงพระคุณธรรม โดยทรงเลือกที่จะสร้างระบบกษัตริย์
                      ในระบอบรัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) ซึ่งในโลกสมัยใหม่เป็นประชาธิปไตยประเภท
                      หนึ่ง หรือ แบรนด์ (brand) หนึ่ง เพราะ Constitutional Monarchy เป็นหนทางที่จะหลีกเลี่ยง

                      ความขัดแย้งระหว่างการมีกษัตริย์กับการมีประชาธิปไตย (โปรดดูเพิ่มเติมใน พฤทธิสาณ 2555
                      และ Bogdanor ,Vernon 1995) การที่ทรงเลือกที่จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้นี้ ผู้มีใจเป็น

                      ธรรมไม่น่าจะเห็นแปลกในเมื่อทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้สืบราชสันตติวงศ์


                            ข้อพึงสังเกตก็คือว่า ในพระราชบันทึกฉบับเดียวกันนั้นได้ทรงไว้ด้วยว่าเหตุการณ์ใน
                      ประวัติศาสตร์ของอังกฤษสมัยหนึ่งเป็นเครื่องเตือนสติว่า กลไกรัฐสภานั้นก็ใช่ว่าจะทัดทานกษัตริย์
                      ได้เสมอไป โดยเฉพาะเมื่อทรงลุแก่อำนาจอย่างอุกอาจ ดังนั้น เราจึงสรุปได้ว่า พระองค์ทรงเห็น

                      ว่าการปกครองนี้จะต้องอาศัยทั้งกลไกถ่วงดุลอำนาจและคุณธรรมของบุคคลที่ถืออำนาจอธิปไตย
                      ไม่ว่าจะเป็นบุคคลจำนวนเท่าใด ประกอบกัน จึงจะดีมี “ธรรมาภิบาล” จริง กล่าวอีกนัยหนึ่ง
                      “คน” กับ “ระบบ” ต้องไปด้วยกัน ความข้อนี้มิใช่หรือที่เป็นหัวใจของการประชุมครั้งนี้ ?


                            ส่วนที่เกี่ยวกับ “ความเมตตา” ผมขอยกมาสัก 2 ตัวอย่าง ตัวอย่างแรก คือ การที่

                      พระองค์ได้เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรการดำเนินงานของโรงพยาบาลโรคเรื้อน เกาะกลาง เชียงใหม่
                      เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2469 และมีพระราชปฏิสันถารถึงทุกข์สุขกับผู้ป่วย ณ ที่นั้นอย่างใกล้ชิด
                      นับเป็นการที่พระองค์ทรงสื่อถึงสังคมทั่วไป ซึ่งขณะนั้นรังเกียจเขาเหล่านั้นว่า เขาสมควรได้รับ

                      ความเมตตาต่างหาก (ประมวล..2528 : 69 และ สัมภาษณ์ ฉัตรบงกช 2556) ตัวอย่างที่สอง
                      เกี่ยวกับการที่ชายชาวจีนผู้หนึ่ง ซึ่งเคยต้องโทษเล่นการพนันและได้ถูกเนรเทศออกไปแล้วได้หลบ

                      เข้าเมืองมาอีกครั้ง ทูลเกล้าฯถวายฎีกา อ้างว่าระหว่าง 7 ปีหลังนี้ ตนมีความประพฤติดีเรียบร้อย        เอกสารประกอบการอภิปราย
                      และมีภรรยาคนไทยและบุตรด้วยกัน 3 คน อีกทั้งชราภาพแล้ว พระองค์ได้มีพระราชกระแสให้
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91