Page 83 - kpi15476
P. 83
2 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
[สัมภาษณ์ศิริน 2556] และถวายการอบรมให้ทรงรู้กาลเทศะและมีความเคารพในผู้อื่น
มีพระอาจสุนทรการแต่ครั้งยังมิได้มีบรรดาศักดิ์เป็นต้นเป็นพระอาจารย์ ทรงศึกษาภาษาไทย
วรรณคดีและความรู้สมัยใหม่ตลอดจนภาษาอังกฤษ และในขณะเดียวกันทรงเป็นนักเรียนนายร้อย
พิเศษในโรงเรียนนายร้อยชั้นปฐมด้วย [ศิลปากร 2524:1] เท่ากับว่าทรงเรียนรู้ทั้งวิชาและความมี
ระเบียบวินัยและความอดทน
ครั้นเมื่อพระชันษา 12 ปี ได้ทรงเข้าพระราชพิธีโสกันต์และเฉลิมพระยศเป็นกรมขุนสุโขทัย
ธรรมราชาตามประเพณีของสมเด็จเจ้าฟ้า และ 4 เดือนต่อมา ได้เสด็จออกไปทรงศึกษาในทวีป
ยุโรป โดยที่มิได้ทรงผนวชเป็นสามเณร ศึกษาภาษามคธและพระพุทธธรรมอย่างเป็นทางการตาม
โบราณราชประเพณี เช่นในกรณีพระราชโอรสในรัชกาลที่ 4 หรือพระราชโอรสรุ่นใหญ่ในรัชกาล
ที่ 5 แต่เมื่อจะเสด็จออกไป ได้ทรง “ปฏิญาณพระองค์เป็นอุบาสกถือพระรัตนทั้งสามเป็น
สรณะ” ณ พระอุโบสถวัดศรีรัตนศาสดาราม ต่อพระพักตร์กรมหมื่นวชิรญานวโรรส
“พระอุปัชญาย์ อย่างทรงพระผนวช” [ศิลปากร 2524:8] แสดงว่าทรงเข้าพระหฤทัยดีในหลัก
พระพุทธศาสนาระดับหนึ่งแล้ว ก่อนที่จะเสด็จไปทรงศึกษาต่อในประเทศตะวันตก ทั้งนี้ปรากฏ
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2471 ว่าได้โปรดเกล้าฯให้จัดพิมพ์พระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้าพระองค์
นั้นเรื่อง “พุทธมามกะ” เป็นหนังสือพระราชทานแก่เด็กเล่มแรก มีพระราชปรารภอธิบายไว้ใน
พระราชนิพนธ์คำนำว่า “เมื่ออาจารย์เห็นว่าเด็กมีความเข้าใจดีในหลักพระพุทธศาสนาแล้ว
ก็ควรทำพิธีรับเป็นพุทธมามกะ คล้ายวิธีพวกฆริสตังทำพิธี “confirmation” ถ้าทำดังนี้ได้จะดี
อย่างยิ่ง จะปลูกฝังความเลื่อมใสในพระพุทธสาสนายิ่งขึ้น และจะทำให้เด็กมีหลักมีสรณะ
อันจะนำชีวิตไปในทางที่ชอบ” (ตัวสะกดตามต้นฉบับ)[จุฬาฯ :2537] ทั้งพระองค์เองก็ได้ทรง
ยึดถือหลักธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นคติประจำพระราชหฤทัยโดยสม่ำเสมอ ดังจะได้นำเสนอให้
เห็นต่อไป
มีเบาะแสพอจะเชื่อได้ว่า ก่อนที่จะเสด็จไปยุโรปนั้น องค์สุโขทัยธรรมราชาได้ทรงทราบ
ความแห่งพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งพระราชทานพระเจ้า
ลูกเธอ 4 พระองค์ รุ่นแรกที่เสด็จไปทรงศึกษาต่อที่ยุโรป เมื่อ พ.ศ. 2428 ความสำคัญ 7 ข้อ
ความโดยสรุปว่า หนึ่ง ไม่ให้อวดอ้างว่าเป็นเจ้านายแต่ให้ทำตัว “เสมอลูกผู้มีตระกูล” สอง ให้
สำนึกเสมอว่าเงินที่พระราชทานให้ใช้สอยนั้น หากใช้อย่างประหยัดและมีเหลือก็ทรงยกให้เป็น
สิทธิขาด หากแต่ว่าให้สำนึกว่า แม้จะเป็นเงินพระคลังข้างที่ แท้ที่จริงก็มาจากราษฎร “จึงต้องใช้
ให้เป็นการมีคุณต่อแผ่นดิน” เท่านั้น สาม เมื่อกลับมา แม้เป็นเจ้าก็ไม่จำเป็นที่พระเจ้าแผ่นดิน
จะต้องทรงใช้ในราชการ ฉะนั้นไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม จะ “ต้องอาศัยสติปัญญาความรู้และความ
เพียรของตัว” จึงต้องเล่าเรียนด้วยความเพียรอย่างยิ่ง “เพื่อมีโอกาสทำคุณแก่บ้านเมืองหรือโลก”
สี่ ไม่ให้ประพฤติตัว “เกะกะ” หากทำผิดเมื่อใดจะถูกลงโทษทันที จึงต้องละเว้นทางที่ชั่วซึ่งทราบ
เอกสารประกอบการอภิปราย หก ให้ศึกษาภาษาต่างประเทศจนคล่องแคล่ว จนแต่งหนังสือได้ 2 ภาษาเป็นอย่างน้อย
เองหรือมีผู้ตักเตือน ห้า ให้เขม็ดแขม่ใช้แต่เพียงพอที่อนุญาตให้ใช้ อย่า “ใจโตมือโตสุรุ่ยสุร่าย”
โดยภาษาไทยต้องรู้ด้วย เพราะต่อไปจะต้องใช้เป็นนิจ ภาษาต่างประเทศเป็นหนทางไว้หาความรู้
และต้องเรียนเลขด้วย เจ็ด ให้ประพฤติให้เรียบร้อยตามแบบอย่างซึ่งโรงเรียนตั้งไว้ “อย่าเกะกะ