Page 85 - kpi15476
P. 85

4     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                       พ.ศ.2460 ได้ทรงพระผนวชเป็นเวลาหนึ่งพรรษา ในระหว่างนั้นได้ทรงศึกษาพระพุทธธรรม
                  ลึกซึ้งพอที่จะทรงพระนิพนธ์เรียงความแก้กระทู้ธรรม ทรงได้รับรางวัล 3 เรื่อง คือ เรื่อง “คนผู้
                  ได้รับการฝึกหัดแล้วเป็นผู้ประเสริฐในมวลมนุษย์” เรื่อง “โลกอันเมตตาค้ำจุนไว้” และ

                  “ความรู้จักพอดียังประโยชน์ให้สำเร็จทุกเมื่อ” ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าทรงสามารถทรงพระอักษร
                  (เขียน) ภาษาไทยได้อย่างกระชับได้ใจความแจ่มแจ้ง


                       นอกจากนั้นยังควรตั้งข้อสังเกตไว้เป็นสำคัญว่า เรื่องแรก เน้นถึงความสำคัญของการฝึกหัด

                  ทั้งกาย วาจา และใจ โดยการฝึกหัดใจนั้น “สำคัญที่สุด” และผู้ประเสริฐนั้นหมายถึงบุคคลที่ดี
                  กว่าผู้อื่น มิใช่เพราะมีทรัพย์สินมากหรือยศสูง ซึ่ง “หาใช่ความดีของตนเองไม่” เรื่องที่สองมีข้อ
                  สรุปว่า “หากว่าเมตตาไม่มีในสันดานของมนุษย์บ้างแล้ว...ชนที่หลายจะนึกถึงความสุขของตน

                  ผู้เดียว แล้วเบียดเบียนผู้อื่น ฝ่ายผู้เป็นใหญ่ก็จะใช้อำนาจของตนบีบบังคับผู้น้อย ... โลกก็จะ
                  ถึงความจลาจลโดยเหตุนี้เอง” เมตตาจึงค้ำจุนโลกไว้ด้วยประการฉะนี้ ส่วนเรื่องที่สามว่าด้วย

                  มัชฌิมาปฏิปทา หรือ “การปฏิบัติเปนสายกลาง” นั้น ข้อความสำคัญที่ทรงไว้ง่ายๆ ก็คือ “รู้จัก
                  หยั่งเหตุผล รู้จักผ่อนผัน อย่าถือเคร่งเกินจำเปน แต่ก็ไม่ควรจะให้หย่อนเกินไป” (ทั้งหมด
                  ตัวสะกดตามต้นฉบับ) (บวรนิเวศวิหาร 2528 : 54,57 และ62) พระนิพนธ์เหล่านี้ แสดงให้

                  เห็นว่าทรงตระหนักดีในคุณธรรมทั้งสามประการ และหากศึกษาพระจริยาวัตรและพระราชดำรัส
                  ในช่วงที่ทรงครองราชย์ จะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงปฏิบัติตามโดยสม่ำเสมอ และในฐานะผู้ปกครอง

                  ได้ทรงแนะนำให้บรรดาพลเมืองได้ปฏิบัติเช่นนั้นด้วยซึ่งน่าจะนับได้ว่า ได้ทรงทำหน้าที่ทั้งในเชิง
                  “ธรรมราชา” และ “ราชาปราชญ์”


                       ขอนำเสนอตัวอย่างพระราชจริยวัตรดังกล่าวแล้วเพียงโดยสังเขปดังนี้ เกี่ยวกับคุณธรรม
                  ประการที่หนึ่ง เรียง “คนผู้ได้รับการฝึกหัดแล้ว..” ขอให้พิจารณาบทพระราชนิพนธ์ท่อนที่ว่า

                  (ดู สนธิ 2545)

                          “Absolute Monarchy, like democracy, may become harmful at any time,
                     because both principles rely on the perfection of human nature, a very frail
                     thing to depend on. A sound democracy depends on the soundness of the
                     people, and a benevolent absolute monarchy depends on the qualities of the
                     King.”


                       ซึ่งทรงไว้ในพระราชบันทึก “Democracy in Siam” เมื่อ พ.ศ.2470 ทรงตอบหนังสือ
                  ขอพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับรายละเอียดของอำนาจหน้าที่ของสภากรรมการองคมนตรี

                  ซึ่งกำลังจะจัดตั้งขึ้นเพื่อให้ชนชั้นนำได้ฝึกหัดวิธีการประชุมแบบรัฐสภา ทำหน้าที่พิจารณาประเด็น
                  นโยบายและกฎหมาย อันเป็นกลไกส่วนหนึ่งของ “แผน” ของพระองค์ในการปฏิรูประบอบการ

                  ปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่แบบพระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญ
        เอกสารประกอบการอภิปราย   รายวัน ปีที่ 27 ฉบับที่ 9146 วันที่ 22 ตุลาคม 2519 ดังนี้
                  (Constitutional Monarchy) ซึ่งเป็นรูปแบบหรือแบรนด์ (brand) หนึ่งของประชาธิปไตย


                       หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์  ปราโมช ได้แปลไว้ในคอลัมน์ “ข้าวไกลนา” ของท่านในสยามรัฐ
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90