Page 84 - kpi15476
P. 84

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15    3


                      วุ่นวาย เชื่อตัวเชื่อฤทธิ์ไปต่างๆ จงอุสาหะพากเพียรเรียนวิชชาให้รู้มา ได้ช่วยกำลังพ่อ เป็นที่
                      ชื่นชมยินดีสมกับที่มีความรักนั้นเถิด” (ตัวสะกดตามต้นฉบับ)[จุลจอมเกล้าฯ :2475]


                            พระราชประวัติระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่ในต่างประเทศที่จะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นเครื่องแสดง
                      ให้เห็นว่าองค์สุโขทัยธรรมราชา ทรงปฏิบัติตามนัยแห่งพระบรมราโชวาทนี้ด้วยดีในทุกประเด็น

                      หลัก


                            อาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ในยุคปัจจุบันของวิทยาลัยอีตัน (Eton College) โรงเรียนราษฎร์ประเภท
                      อยู่ประจำชั้นเอกของอังกฤษ ซึ่งองค์สุโขทัยธรรมราชาเคยทรงเป็นนักเรียนอยู่ 2 ปี ได้เขียน
                      บทความซึ่งสกัดสาระจากเอกสารจดหมายเหตุของโรงเรียนเกี่ยวกับพระองค์ว่า “ทรงเป็นผู้ฉลาด

                      ที่สุดในกลุ่ม” และความตรงต่อเวลา ทั้งละเอียดถี่ถ้วนและมุ่งมั่นที่จะทรงทำให้สุดความสามารถ
                      ในทุกสิ่ง ไม่น่าแปลกใจที่ทรงทำได้ดีที่สุดในวิชาภาษาฝรั่งเศส แต่ก็ทรงแสดง “ความสามารถ”

                      ในวิชาวิทยาศาสตร์ด้วย อีกทั้งยังทรงได้คะแนนสูงในการสอบภาษากรีกโบราณ การผสมผสานกัน
                      ระหว่างท่วงท่าที่เป็นระเบียบแบบแผนกับความพร้อมที่จะทรงทำความเข้าพระทัยกับแนวคิดใหม่ๆ
                      ได้ช่วยให้ทรงดำรงพระองค์ได้อย่างมั่นคงที่อีตัน และได้กลายเป็นบทเรียนที่ไม่ทรงลืมเลยในช่วง

                      หลังแห่งพระชนม์ชีพ และว่า การที่ทรงเป็นผู้ที่สนิทใจด้วยง่ายก็สำคัญ บรรดาครูอาจารย์
                      ของพระองค์พอใจตั้งแต่แรกกับ “เด็กน้อยที่น่ารักและน่าคบ” พระองค์นี้ และนิยมชมชอบก็

                      พระอัธยาศัยแจ่มใส และการที่ทรงยืดหยุ่นปรับพระองค์เองได้ แม้ว่าพระวรกายจะย่อมก็ตาม
                      โดยที่เราสัมผัสได้ว่าทรงชนะศึกต่างๆ ของพระองค์ได้ก็โดยการเอาชนะใจคน ด้วยพระเสน่ห์
                      และการดำรงพระองค์อยู่ในทำนองคลองธรรมโดยแท้ (Gailey 2009 พฤทธิสาณ แปล

                      2553:15, เน้นข้อความโดย พฤทธิสาณ)


                            สำหรับเมื่อประทับทรงศึกษาต่อในวิชาทหารที่ราชวิทยาลัยทหาร เมืองวุลลิชนั้น ผู้เขียนไม่มี
                      ข้อมูลมากไปกว่ารายงานที่ว่าทรงสอบได้ดี ทรงเอาพระทัยใส่ในการศึกษาเล่าเรียนตลอดเวลา
                      (ศิลปากร, กรม 2523 : 31) แต่แน่ชัดว่า นอกจากที่พระองค์ทรงสามารถทรงกีฬา ซึ่งต้องใช้

                      ความสมบุกสมบันและความอดทนที่วิทยาลัยอีตันแล้ว ยังทรงได้รับการอบรมจากราชวิทยาลัย
                      ทหารนั้น ให้ทรงมีความเป็นทหารหาญที่กล้าเสี่ยงภัยเพื่อคุณค่าที่เหนือกว่าตน ทั้งนี้จากข้อมูลเมื่อ

                      ทรงเป็นนายร้อยตรีกิตติมศักดิ์แห่งกองทัพอังกฤษ ประจำการในกองทหารปืนใหญ่ม้าที่เมืองออ
                      ลเดอร์ช็อตนั้น สงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้อุบัติขึ้น พระองค์ต้องพระประสงค์ที่จะเสด็จร่วมรบกับ
                      พระสหายทหารชาวอังกฤษมากถึงกับรับสั่งขอต่อสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 หากแต่พระราชา

                      อังกฤษพระองค์นั้นไม่อาจทรงพระราชทานพระราชานุญาตได้ เพราะทรงเป็นผู้มีสัญชาติสยาม
                      ประเทศที่ยังเป็นกลางในสงคราม (ศิลปากร,กรม 2523 : 3) “คุณค่าที่เหนือกว่าตน” ในที่นี้

                      หากนำเหตุผลที่สยามได้ให้ไว้เกี่ยวกับการที่ต่อมาได้ร่วมกับฝ่ายอังกฤษในการสงครามเดียวกันนั้น
                      ที่ว่า คือ การที่ประเทศใหญ่ได้เข้ารังแกประเทศเล็ก ย่อมตีความได้ว่าหมายถึง ธรรมแห่งการ
                      ไม่เบียดเบียนกัน อันเป็นธรรมที่ปรากฏมีในคำสอนของทุกศาสนาและวัฒนธรรม (กัลป์ปลัดดา

                      ดุตตา 2555 : 5) ดังนั้นการที่องค์สุโขทัยธรรมราชาได้ทรงอาศัยโอกาสที่จะทรงทำคุณแก่
                      บ้านเมืองและโลก จึงเป็นการทรงทำตามพระบรมราโชวาท ที่ทูลกระหม่อมพ่อของพระองค์                        เอกสารประกอบการอภิปราย

                      ได้พระราชทานไว้แก่พระราชโอรส
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89