Page 97 - kpi15476
P. 97
9 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
องค์อรรกเทพหรือสุริยเทพทรงแผ่พระรัศมีเพื่อหน่วงเอาน้ำไว้ตลอด 8 เดือน
พระราชาพึงเก็บภาษีจากแว่นแคว้นของพระองค์ นี้คือกฎแห่งอรรกเทพ
พระวายุทรงพัดไปสู่สัตว์ทั้งปวง พระราชาพึงส่งจารบุรุษไปทั่วทุกตำบล นี่คือกฎแห่ง
วายุเทพ
ยมเทพทรงควบคุมทั้งมิตรและศัตรูเมื่อบุคคลนั้นถึงแก่กรรม ประชาชนพึงอยู่ใน
ความควบคุมของพระราชา นี่คือกฎแห่งยมเทพ
พระวรุณทรงพันธนาการบุคคลอย่างแน่นหนาฉันใด พระราชาพึงพันธนาการคนชั่ว
ฉันนั้น นี่คือกฎแห่งวรุณเทพ
มนุษย์พากันเบิกบานยินดีเมื่อเห็นจันทรเทพในคืนเพ็ญฉันใด พลเมืองพึงมีความ
ชื่นชมในพระราชาฉันนั้น นี่ชื่อว่าเป็นไปตามกฎแห่งจันทรเทพ
พระราชาพึงกระตือรือร้นและทรงความรุ่งเรืองในการกำจัดคนผิดและทำลายศัตรูโดย
รอบ นี่คือกฎแห่งอัคนีเทพ
ปฤถิวีเทพทรงรองรับสรรพสัตว์ดุจเดียวกัน พระราชาพึงรองรับสัตว์ทั้งปวง ฉันนั้น
นี่ชื่อว่าทำตามกฎแห่งปฤถิวีเทพ” (Burnell, IX, 303-311)
พระราชาจึงทรงมีฐานะเป็นเทวดามาปกครองมนุษย์เป็นราชาที่เป็นเทวดาหรือเทวราช
มีฐานะสูงและแยกกับประชาชนพลเมืองอย่างเด็ดขาด เมื่อไทยรับลัทธินี้มาใช้ในสมัยอยุธยา
ความคิดยังได้พัฒนาต่อไปโดยเชื่อมโยงกับการอวตารของพระนารายณ์ แม้สมเด็จพระนารายณ์
มหาราชก็มีผู้เห็นว่ามี 4 กร นอกจากนั้นชื่อตำแหน่งของพระราชาก็มีคำที่เกี่ยวข้องกับการอวตาร
เช่น พระรามาธิบดีซึ่งหมายถึงอวตารของพระนารายณ์มาเป็นพระราม พระเจ้าแผ่นดินไทยสมัย
อยุธยา ก็ทรงมีฐานะเป็นเช่นนั้น การปกครองแบบนี้นักประวัติศาสตร์มักใช้คำว่า
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งก็ต่างกับสมบูรณาญาสิทธิราชย์เดิมของตะวันตกและต่างกับ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสมัยภูมิธรรมของตะวันตก แม้ว่าจะทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาด
เช่นเดียวกันก็ตาม
ลัทธิเทวราชในสมัยอยุธยาแม้ว่าจะรับพราหมณ์ฮินดูมาจากขอม แต่ก็เห็นได้ว่าผสานเข้ากับ
แนวคิดในพระพุทธศาสนาอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากพระพุทธศาสนากลายเป็นศาสนาหลักแม้ว่า
ศาสนาพราหมณ์ฮินดูจะมีความสำคัญในราชสำนักด้วยก็ตาม หน้าที่อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา
เป็นหน้าที่สำคัญของพระราชาและทรงมุ่งเข้าถึงพระนิพพานในอนาคตกาล ฐานะของพระราชา
เปรียบด้วยพระพุทธเจ้า แม้ตำแหน่งของพระราโอรสองค์ใหญ่ก็เป็นสมเด็จหน่อพระพระพุทธเจ้า
บ้าง สมเด็จหน่อพุทธางกูรบ้าง อิทธิพลของพระพุทธศาสนาทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในแนวคิด
เทวราชาของอยุธยา 2 ประการคือ พระราชาทรงมีฐานะเป็นเทพแบบพุทธคือเป็นเทพด้วย
บุญบารมีที่ทรงสร้างมาแต่อดีต กับพระราชาต้องเป็นผู้ทรงธรรม ปกครองโดยธรรม ปฏิบัติโดยมี
เอกสารประกอบการอภิปราย บัลลังก์ลงก็ได้ แนวคิดนี้ได้พัฒนาต่อมาเป็นแนวคิด สมมติเทพ กล่าวคือ พระราชาไม่ใช่เทพ
ธรรมของพระพุทธศาสนากำกับ หากไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรมก็ถือว่าสิ้นบารมีผู้มีบุญอื่นก็ล้มราชา
แต่มีฐานะสูงเสมอกับเทพเพราะทรงคุณงามความดีตั้งมั่นอยู่ในธรรมของบุคคล ทรงธรรมของ
ผู้ปกครอง มีทศพิธราชธรรมเป็นต้น นักประวัติศาสตร์มักสรุปรวมๆ และนำเรื่องเทวราชา