Page 92 - kpi15476
P. 92

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   91


                              (10) อวิโรธนะ (รู้จักหนักแน่นในธรรม) ทรงวางพระองค์หนักแน่นในธรรม ไม่ทรง
                                    หวั่นไหวจนเกินควรต่อถ้อยคำที่ดีร้าย ทรงพยายามผดุงความเที่ยงธรรมเหนือความ

                                    ยุติธรรมตามกฎหมายโดยเมื่อมีคนจีนเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ถวายฎีกาขอไม่รับ
                                    โทษเนรเทศ ได้ทรงวินิจฉัยว่าเขาเป็นผู้ที่ประกอบสัมมาอาชีวะและรับผิดชอบต่อ
                                    ภรรยาคนไทยและบุตรที่เกิดในสยาม จึงเป็นกำลังสำคัญของชาติและควรให้ได้อยู่

                                    ต่อไป ต่อมา ทรงร้องขอให้รัฐบาลอนุญาตให้ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอ
                                    พระราชทานอภัยโทษได้โดยตรง ด้วยทรงถือคติว่า “ถ้าคนเราไม่มีความยุติธรรม

                                    อันใดอันหนึ่งที่สูงกว่าความยุติธรรมของคนต่อคนกันเองแล้ว คนที่ประพฤติดี
                                    เห็นจะน้อยเต็มที และจะเป็นที่น่าเหี่ยวแห้งใจอย่างยิ่ง” นับเป็นการที่พระองค์ทรง
                                    ถือผลแห่งกรรมเป็นใหญ่กว่าความยุติธรรมในโลกมนุษย์ปุถุชน อีกทั้งในวาระที่จะ

                                    ทรงสละราชสมบัติ ได้ทรงเน้นย้ำถึงหลักนิติธรรมในการปกครอง ที่ต้องไม่มีความ
                                    ลำเอียงหรือการทำตามอำเภอใจของผู้ปกครอง ว่าเป็นหลักอันขาดเสียมิได้ในการ

                                    ปกครองในระบอบประชาธิปไตย

                            เห็นได้ว่า ธรรมในพระราชจริยวัตรของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น อิงอยู่กับ

                      ทศพิธราชธรรมไม่น้อยมาโดยตลอด นับว่าพระองค์ได้ทรงพยายาม “ทำให้ผู้อื่นยินดีปรีดาและ
                      พึงพอใจโดยธรรม” แต่จะได้สร้าง “ประโยชน์เกื้อกูลและสุขแห่งมหาชน” ตามความใน

                      พระปฐมบรมราชโองการเมื่อทรงบรมราชาภิเษกเพียงใดนั้น ย่อมแล้วแต่ว่า “มหาชน” ส่วนใด
                      คณะใดยุคสมัยใดเป็นผู้ประเมิน และโดยได้มองอย่างรอบด้านแล้วหรือไม่ ประโยชน์อันพึงมีจาก
                      การศึกษาพระราชประวัติและพระราชจริยวัตรจึงน่าจะอยู่ที่ การนำมาพิจารณาตริตรองว่า หากใน

                      ปัจจุบันนี้ เรามีผู้นำเช่นนี้ จะดีในแง่ใด เพียงใด มากกว่าอย่างอื่น


                                                                                                                         เอกสารประกอบการอภิปราย
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97