Page 99 - kpi15476
P. 99

9      การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวเธอรับสนองพระดำรัสพระราชฤาษีแล้ว ทรงประพฤติ
                     จักกวัตติวัตรอันประเสริฐอยู่ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ซึ่งมีกำพันหนึ่ง มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วย

                     อาการทุกอย่าง ปรากฏมีแก่ท้าวเธอผู้สระพระเศียร ทรงรักษาอุโบสถอยู่ ณ ปราสาท
                     อันประเสริฐชั้นบน ในวันอุโบสถ 15 ค่ำ ท้าวเธอทอดพระเนตรเห็นแล้วมีพระดำริว่า ก็เรา
                     ได้สดับมาว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ มีกำพันหนึ่ง มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง

                     ปรากฏมีแก่พระราชาผู้เป็นกษัตริย์พระองค์ใด ผู้ได้มูรธาภิเษก สระพระเศียร ทรงรักษา
                     อุโบสถอยู่ ณ ปราสาทอันประเสริฐชั้นบนในวันอุโบสถ 15 ค่ำ พระราชาพระองค์นั้น เป็น

                     พระเจ้าจักรพรรดิ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิหรือหนอฯ” (สุต. 11/35)

                       เหตุดังกล่าว พระเจ้าจักรพรรดิจึงอาจเรียกได้ว่าเป็น ธรรมราชา


                       พระเจ้าจักรพรรดินั้นแม้ทรงธรรมและเผยแผ่ธรรม แต่อาศัยอำนาจของจักรแก้ว ต่างกับ

                  พระพุทธเจ้าที่มิได้ใช้อำนาจใดนอกจากธรรม แต่โดยเหตุที่ทรงธรรม สอนธรรม และแผ่ธรรมไป
                  ในแว่นแคว้นต่างๆ ก็นับเป็นธรรมราชา พระเจ้าอโศกมหาราชก็ทรงมีอำนาจเช่นนั้น ทรงสอน
                  ธรรมและแผ่ธรรมไปในแว่นแคว้นต่างๆ ด้วย การส่งสมณทูตไป นับได้ว่าเป็นพระธรรมราชา

                  ที่เป็นแบบอย่าง และมีตัวตนในโลก พระราชาทั้งหลายที่ปรารถนาเป็นพระธรรมราชา จึงเอาเป็น
                  แบบอย่างปฏิบัติ และระบอบธรรมราชาก็อาศัยแบบอย่างและคุณลักษณะของพระเจ้าอโศก

                  มหาราชใช้ดำเนินรอยตาม พ่อขุนรามคำแหง พญาลิไท และพระราชาอื่นๆ อีกมาก


                  อธิปไตย 3



                       อธิปไตย 3 เป็นหลักการทั่วไปของพระพุทธศาสนาที่มิได้เกี่ยวข้องกับคำว่า อธิปไตย

                  ในทางการเมืองการปกครอง ประกอบด้วย อัตตาธิปไตย โลกาธิปไตย และธรรมาธิปไตย แต่ก็มี
                  ผู้ตีความไปในทำนองที่เป็นระดับของการปกครองจากไม่ดีไปหาดี คือ อัตตาธิปไตยเป็นระบอบที่

                  เอาตัวเองเป็นใหญ่ ได้แก่เผด็จการ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ลัทธิอำนาจเบ็ดเสร็จ โลกาธิปไตยเป็น
                  ระบอบที่เอาเสียงส่วนมากเป็นหลัก คือประชาธิปไตย ซึ่งดีกว่าอัตตาธิปไตย และระบอบที่ดีที่สุด
                  คือ ธรรมาธิปไตย


                       การกำหนดว่าอะไรดีกว่ากันเช่นนี้ไม่ปรากฏในอธิปไตยสูตร ซึ่งมีข้อความดังนี้


                          “ดูกรภิกษุทั้งหลาย อธิปไตย 3 อย่างนี้ 3 อย่างเป็นไฉนคือ อัตตาธิปไตย 1 โลกา-
                     ธิปไตย 1 ธรรมาธิปไตย 1 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อัตตาธิปไตยเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย

                     ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมสำเหนียกดังนี้ว่า
                     ก็เราออกบวชเป็นบรรพชิตไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ใช่เหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ใช่เพราะ
        เอกสารประกอบการอภิปราย   เช่นนั้น ก็แต่ว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
                     เหตุแห่งเสนาสนะ เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความมีและความไม่มี


                     ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ครอบงำแล้ว มีทุกข์ท่วมทับแล้ว ไฉนความทำที่สุดแห่งกอง

                     ทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ ก็การที่เราจะพึงแสวงหากามที่ละได้แล้วออกบวชเป็นบรรพชิต
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104