Page 101 - kpi15476
P. 101
100 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
สำเหนียกว่า ก็ความเพียรที่เราปรารภแล้วจักไม่ย่อหย่อน สติเข้าไปตั้งมั่นแล้วจักไม่หลงลืม
กายที่สงบระงับแล้วจักไม่ระส่ำระส่าย จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ ดังนี้ เธอทำ
ธรรมนั้นแหละให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มี
โทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าธรรมาธิปไตย ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อธิปไตย 3 อย่างนี้แล ฯ” (อังฺ 12/479/165)
ในพระสูตรดังกล่าวอัตตาธิปไตยหมายถึง การที่บุคคลอาศัยความคิดหรือเหตุผลของตัวเอง
เป็นใหญ่ ซึ่งอาจจะดีหรือไม่ดีก็ได้ หากจะนำไปเทียบกับระบอบการปกครองที่คนคนเดียวมีอำนาจ
เด็ดขาดก็อาจมีทั้งดีและไม่ดีแล้วแต่กรณีขึ้นกับการกระทำของบุคคลนั้นๆว่าเป็นคุณหรือโทษ การ
ที่จะให้อัตตาธิปไตยเป็นคุณนั้น พระพุทธองค์ทรงทรงสอนว่าต้องมีสติกำกับ หากพิจารณาในเชิง
การปกครอง ผู้ปกครองที่มีอำนาจเด็ดขาดต้องมีสติ ซึ่งจะทำให้มีศีล เพราะศีลทำให้คนไม่ตกไป
ในความชั่ว หากไม่มีศีลกำกับก็อาจทำชั่วได้ง่าย เพราะไม่มีอะไรมาถ่วงดุลอำนาจไว้ กลายเป็น
ระบอบอำนาจคือธรรม เมื่อมีสติตั้งมั่นก็เกิดสมาธิ คือความมีจิตแน่วแน่ที่จะละชั่ว ทำดี
โลกาธิปไตยคือการที่เอาเสียงคนหมู่มากตัดสิน หากเทียบกับการปกครองอาจเทียบได้กับ
ประชาธิปไตย อภิชนาธิปไตย คณาธิปไตย ซึ่งเป็นการตัดสินโดยคนหลายคน กรณีนี้ก็เช่นกัน
มิได้ดีหรือร้ายในตัว อาจดีก็ได้ ร้ายก็ได้ แล้วแต่จะทำให้เกิดคุณหรือโทษ กรณีนี้ในพระสูตร
ดังกล่าวข้างต้น พระพุทธเจ้าทรงสอนให้กำกับด้วยปัญญา พิจารณาว่าจักต้องควบคุมให้อยู่ในศีล
ในธรรม เพราะการกระทำของเรามีผู้อื่นคือ โลก รู้เห็น
กรณีทั้งสองมิได้หมายความว่ากรณีแรกไม่ต้องใช้ปัญญา และกรณีที่สองไม่ต้องมีสติมีศีล
แต่หมายความว่าหากเป็นคนคนเดียวมีอำนาจตัดสินเด็ดขาด แม้คนนั้นไม่มีปัญญา หากมีสติ
ก็ทำให้รักษาศีลไม่นำไปสู่ความเลวร้าย กรณีที่สอง คนจำนวนมากนั้นหากจะมีศีลบ้างไม่มีศีลบ้าง
แต่มีผู้มีปัญญารู้เห็นความดีความชั่วของเราได้ จึงต้องตั้งมั่นมีสติละชั่วทำดี จึงกล่าวได้ว่า
พระพุทธเจ้ามิได้ตัดสินว่าอธิปไตยแบบใดดีกว่ากัน เพราะดีได้พอๆกับการมีการกำกับอย่างถูกต้อง
ทั้งสองอธิปไตยจึงเป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาในฐานะเป็นหลักการหรือแนวคิด
กรณีที่สาม ธรรมาธิปไตยนั้นไม่ต้องมีอะไรกำกับ เนื่องจากธรรมในที่นี้หมายถึงธรรม
ทั้งหมดที่พระพุทธองค์ทรงสอน ซึ่งประกอบด้วยหลักธรรม และคำอธิบายที่ชัดเจน เป็นธรรม
ที่ระบุได้ ทำให้เว้นชั่ว ทำดี ทั้งกาย วาจา ใจ จึงดีในตัว ถ้าทุกคนมีธรรมตัวกล่าวก็ไม่มีปัญหา
เรื่อง คิด พูดและทำไม่ดี
อธิปไตย 3 นี้นอกจากจะนำมาพิจารณาในเชิงการเมืองการปกครองได้แล้วก็อาจนำไป
พิจารณาด้านอื่นๆ ในเชิงหลักการได้ เพราะเป็นหลักทั่วไป ไม่เจาะจงด้านใดด้านหนึ่ง และหากนำ
เอกสารประกอบการอภิปราย โดยตรัสรู้ธรรมและเผยแผ่ธรรม ทรงพร้อมด้วยศีลและปัญญาครบถ้วน ผู้ปกครองที่เป็น
มาพิจารณาเรื่องธรรมราชา พระพุทธเจ้าทรงเป็นธรรมราชา เพราะทรงเป็นเจ้าแห่งธรรมาธิปไตย
อัตตาธิปไตยหรือโลกาธิปไตย ก็เป็นธรรมราชาได้ เช่นพระเจ้าจักรพรรดิ และพระเจ้าอโศก
มหาราช ผู้ปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีทั้งที่ดีจนนับเป็นธรรมราชาได้ หรือเลวร้ายและเป็น
ทรราชย์ที่ใช้อำนาจเผด็จการโดยคนส่วนใหญ่ก็ได้อยู่ที่มีธรรม และดำเนินการด้วยปัญญาหรือไม่