Page 102 - kpi15476
P. 102

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   101


                      ปัญญาในที่นี้คือปัญญาทางพระพุทธศาสนา ไม่ใช่ปัญญาอย่างทางโลกที่อาจใช้สนองความโลภ
                      โกรธ หลงของบุคคล เสียงส่วนใหญ่ในที่นี้ต้องเป็นเสียงของคนดี คือคนที่ตั้งมั่นในการละชั่วทำดี

                      ไม่ใช่ทุกเสียงเท่ากันหมดอย่างประชาธิปไตยปัจจุบัน


                      ความสัมพันธ์ระหว่างอธิปไตย

                      กับธรรมทางการเมืองการปกครอง



                            วงการวิชาการพระพุทธศาสนาทราบว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนธรรมตามประโยชน์ที่จะเกิด

                      แก่ผู้รับ เช่น ความจริตของผู้รับ ในด้านการเมืองการปกครองก็เช่นกัน ทรงสอนธรรมของ
                      ผู้ปกครองที่มีอำนาจสิทธิขาดอย่างหนึ่ง แก่ผู้ปกครองที่ประกอบด้วยกลุ่มบุคคลอีกอย่างหนึ่ง เช่น
                      สอนทศพิธราชธรรมให้เป็นธรรมสำคัญของผู้ปกครองที่มีอำนาจเด็ดขาด และสอนอปริหานิยธรรม

                      เป็นธรรมของกลุ่มผู้ปกครองรัฐที่รวมกันเป็นสมาพันธรัฐ แต่นักวิชาการก็มักไม่ได้ตั้งคำถามต่อว่า
                      เหตุใดจึงสอนธรรมนั้นๆ สำหรับกรณีนั้นๆ


                            หากเราพิจารณาเรื่องนี้จากอธิปไตย 3 จะเห็นได้ว่าสอดคล้องกันดังนี้

                         ทศพิธราชธรรม



                            ทศพิธราชธรรมมีปรากฏในพระไตรปิฎกดังนี้


                               ดูกรพระยาหงส์ เราพิจารณาเห็นชัดซึ่งอายุอันเป็นอนาคตยังยืนยาวอยู่ เราตั้งอยู่แล้ว
                         ในธรรม 10 ประการ จึงไม่สะดุ้งกลัวปรโลก เราเห็นกุศลธรรมที่ดำรงอยู่ในตนเหล่านี้ คือ

                         ทาน ศีล การบริจาค ความซื่อตรง ความอ่อนโยน ความเพียร ความไม่โกรธ ความไม่
                         เบียดเบียน ความอดทน และความไม่พิโรธ แต่นั้นปิติและโสมนัสไม่ใช่น้อยย่อมเกิดแก่เรา
                         ก็สุมุขหงส์นี้ไม่ทันคิดถึงคุณสมบัติของเรา ไม่ทราบความประทุษร้ายแห่งจิต จึงเปล่งวาจา

                         อันหยาบคาย ย่อมกล่าวถึงโทษที่ไม่มีอยู่ในเรา คำของสุมุขหงส์นี้ย่อมไม่เป็นเหมือนคำของ
                         คนมีปัญญา (สุต 28/240)


                            ทศพิธราชธรรมซึ่งประกอบด้วยทาน ศีล ปริจจาคะ อาชชวะ มัททวะ ตปะ อักโกธะ
                      อวิหิงสา ขันติ อวิโรธนะ นั้น ข้อแรกที่ว่าด้วยทาน กับข้อปริจจาคะ คือการให้ เป็นข้อเน้น

                      พุทธปรัชญา เป็นปรัชญาแห่งการให้ผู้อื่น ทุกคนต้องมุ่งเป็นผู้ให้ ต่างกับปรัชญาสายวัตถุนิยม
                      ที่สังคมไทยนิยมในปัจจุบันที่เป็นปรัชญาแห่งการเอาเป็นของตน พระราชาต้องเป็นผู้ให้จึงต้องมี
                      ธรรมดังกล่าว


                            ข้ออื่นๆ ซึ่งมีศีลเป็นข้อต้นกับธรรมอื่นที่มีลักษณะเป็นการควบคุมตนเช่นเดียวกับศีลคือ

                      อาชชวะ มัททวะ อักโกธะ อวิหิงสา และขันติ เป็นการเน้นเรื่องศีล คือการละชั่ว ซึ่งเป็นเครื่อง
                      ควบคุมอัตตาธิปไตย ส่วนอีก 2 ข้อคือ ตปะ กับอวิโรธนะนั้น เป็นเรื่องการเป็นผู้มีธรรม ตั้งอยู่ใน

                      ธรรมอย่างยิ่ง เป็นส่วนที่ว่าด้วยการพิจารณาด้วยปัญญา ซึ่งทำให้เกิดความคิดที่รอบคอบและ               เอกสารประกอบการอภิปราย
                      ถูกต้อง ไม่เสียธรรมไปเพราะอคติ
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107