Page 98 - kpi15476
P. 98
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 9
สมัยอยุธยาไปเทียบกับธรรมราชา สมัยสุโขทัยว่าต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่ในสภาพแวดล้อมที่เป็น
เมืองพุทธและทรงศึกษาพระพุทธศาสนา แนวคิดธรรมราชาย่อมมีอิทธิพลอย่างสูง ธรรมเป็น
ข้อจำกัดอำนาจของพระราชาอย่างสำคัญที่สุด แม้แนวคิดเรื่องธรรมราชาอาจไม่บริบูรณ์เท่า
สมัยสุโขทัย แต่ก็มีลักษณะดังกล่าวให้เห็นได้ไม่น้อย
คำว่าธรรมราชาในพระไตรปิฎกหมายถึงพระพุทธเจ้า ธรรมราชาที่หมายถึงพระพุทธเจ้านั้น
หมายความว่า เป็นผู้มีธรรมทั้งปวงเป็นธรรมชาติ ดังพุทธพจน์ว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา”
ธรรมราชาในความหมายนี้มีความสำคัญแต่ไม่ค่อยจะมีผู้นำมาใช้พิจารณาทางการเมือง ด้วยเหตุที่
เห็นกันว่าเป็นเรื่องศีลธรรมหรือศาสนา ธรรมราชาอีกอย่างหนึ่งคือธรรมราชาอย่างที่พระเจ้าอโศก
มหาราชทรงเป็น ซึ่งเป็นการพัฒนาความคิดมาจากเรื่องพระเจ้าจักรพรรดิ หรือจักรพรรดิราช
ผนวกเข้ากับการประยุกต์หลักธรรมราชาต่างๆ ที่เกี่ยวกับความเป็นพระราชาที่ดี
เมื่อพระพุทธเจ้าประสูตินั้น บรรดาพราหมณ์และฤๅษีทั้งหลายต่างทำนายว่าหากเสด็จ
ออกผนวชจะตรัสรู้เป็นศาสนาของโลก หากไม่เสด็จออกผนวชจะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ดังนั้นจึงมี
ความต่างกันระหว่างธรรมราชาที่เป็นพระพุทธเจ้า กับธรรมราชาที่เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
พระพุทธเจ้านั้นทรงธรรมโดยบริบูรณ์ ไม่มีผู้ใดยิ่งกว่า จึงเป็นธรรมราชาทั้งทางโลกและทางธรรม
แต่พระเจ้าจักรพรรดิแม้ทรงธรรมและเผยแผ่ธรรมก็ยังเป็นธรรมราชาเพียงทางโลก ถึงกระนั้น
ถ้าเทียบกับพระราชาทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิก็มีธรรมสูงสุด มีจักกวัตติวัตร เป็นต้น ดังที่
ปรากฏในพระไตรปิฎกดังนี้
“ร. พระพุทธเจ้าข้า ก็จักกวัตติวัตรอันประเสริฐนั้น เป็นไฉนฯ
ราช. ดูกรพ่อ ถ้าเช่นนี้ พ่อจงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรมทำความเคารพธรรม
นับถือธรรม บูชาธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธงชัย มีธรรมเป็นยอด มีธรรมเป็นใหญ่
จงจัดการรักษาป้องกัน
และคุ้มครองอันเป็นธรรมในชนภายใน ในหมู่พล ในพวกกษัตริย์ผู้เป็นอนุยนต์ ใน
พวกสมณพราหมณ์และคฤหบดีในชาวนิคมและชาวชนบททั้งหลาย ในพวกสมณพราหมณ์
ในเหล่าเนื้อและนก ดูกรพ่อ การอธรรมอย่าให้มีได้ในแว่นแคว้นของพ่อเลย ดูกรพ่อ อนึ่ง
บุคคลเหล่าใดในแว่นแคว้นพ่อ ไม่มีทรัพย์ พ่อพึงให้ทรัพย์แก่บุคคลเหล่านั้นด้วย ดูกรพ่อ
อนึ่ง สมณพรามณ์เหล่าใด ในแว่นแคว้นของพ่องดเว้นจากความเมาและความประมาท
ตั้งมั่นอยู่ในขันติและโสรัจจะฝึกตนแต่ผู้เดียว สงบตนแต่ผู้เดียว ให้ตนดับกิเลสอยู่แต่
ผู้เดียว พึงเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น โดยกาลอันสมควร แล้วไต่ถามสอบถามว่า
ท่านขอรับ กุศลคืออะไร ท่านขอรับอกุศลคืออะไร กรรมมีโทษคืออะไร กรรมไม่มีโทษคือ
อะไร กรรมอะไรควรเสพ กรรมอะไรไม่ควรเสพ กรรมอะไรอันข้าพเจ้ากระทำอยู่ พึงมีเพื่อ
ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่ากรรมอะไรที่ข้าพเจ้ากระทำอยู่พึงมีเพื่อ
ประโยชน์เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน พ่อได้ฟังคำของสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้วสิ่งใด
เป็นอกุศล พึงละเว้นสิ่งนั้นเสีย สิ่งใดเป็นกุศลพึงถือมั่นสิ่งนั้นประพฤติ ดูกรพ่อ นี้แล คือ
จักกวัตติวัตรอันประเสริฐนั้นฯ เอกสารประกอบการอภิปราย