Page 103 - kpi15476
P. 103

102     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                       จึงเห็นได้ว่าธรรมที่เกี่ยวข้องกับพระราชาคือทศพิธราชธรรมนี้เน้นการกำกับอัตตาธิปไตย
                  มากที่สุดคือ ศีล ซึ่งเป็นการควบคุมตนเองให้ละชั่ว


                     อปริหานิยธรรม


                       ผู้เขียนได้พยายามค้นหาคำตอบเกี่ยวกับอปริหานิยธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงกล่าวถึงว่าเป็น
                  คุณสมบัติของบรรดากษัตริย์วัชชี ว่าเหตุใดจึงขึ้นต้นด้วยข้อ หมั่นประชุมกันเป็นเนืองนิจ

                  พร้อมเพียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม บัดนี้เมื่อใดอ่านเรื่องโลกาธิปไตยในอธิปไตยสูตร
                  ซึ่งเน้นเรื่องสติและสมาธิแล้วยังต้องมีปัญญาที่จะเน้นดี ชั่ว ถูก ผิดกล่าวได้ว่าต้องกำกับด้วย

                  ปัญญา ก็เข้าใจได้ว่าในการคิดให้ถูกต้องรอบคอบ และมีโอกาสขจัดอคติส่วนบุคคลได้มากที่สุด
                  ในทางโลกอาศัยการประชุมซึ่งมีความเห็นต่างๆ ความเห็นสนับสนุน คัดค้านและการโต้แย้ง
                  การประชุมจึงเป็นการตัดสินด้วยปัญญาในทางโลก พวกวัชชีปกครองแบบอภิชนาธิปไตย

                  มีพระราชาหลายองค์ร่วมกันปกครอง การประชุมจึงเป็นเรื่องสำคัญ ระบอบประชาธิปไตยก็เป็น
                  เช่นเดียวกัน ปัญญาที่จะใช้ในการขับเคลื่อนระบอบอาศัยการประชุมซึ่งมีการฟังความเห็น และ

                  พิจารณาโดยรอบคอบทั้งด้วยสติและปัญญา ซึ่งมิใช่เป็นแบบพวกมากลากไปเช่นกรณีประเทศไทย
                  ในปัจจุบันที่เป็นประชาธิปไตยแบบอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหารแต่งงานกัน มิใช่เป็นการถ่วง
                  ดุลอำนาจตามอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่แท้ จึงทำให้เป็นเผด็จการของเสียงข้างมากได้ง่าย


                       อธิปไตยข้อที่ 3 คือ ธรรมมาธิปไตยเป็นอุดมคติและเป็นมาตรฐานการคิด การประพฤติ

                  ปฏิบัติในชีวิตและสังคมใช้ตรวจสอบการปฏิบัติได้ว่าดีหรือชั่ว ไม่ต้องคิดสร้างมาตรฐานอะไรขึ้น
                  ใหม่นอกจากนี้ ถ้าปฏิบัติตามธรรมของพระพุทธเจ้าได้ทั้งคนและสังคมก็เป็นสุข ถ้าการปฏิบัติ

                  ออกห่างจากธรรมธรรมเพียงไรความยุ่งยาก ความชั่วและความหายนะก็เพิ่มขึ้นเพียงนั้น แม้ใน
                  เรื่องอัตตาธิปไตยกับโลกาธิปไตยทั้งผู้ปกครองหรือผู้ใต้ปกครองก็ต้องปฏิบัติตามธรรม


                  ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับธรรมของพระราชา




                       การปกครองย่อมมีสายการบังคับบัญชาลดหลั่นกันไปเป็นชั้นๆ หน่วยงานที่ปกครองก็อาจมี
                  หลายหน่วย หากเข้าใจว่าผู้ที่จะต้องมีธรรมคือ ผู้ปกครองระดับสูงสุดเท่านั้น การปกครองด้วย
                  ธรรมก็จะขาดตอน ไม่มีผลไปถึงระดับล่างๆ ลงไป เท่ากับธรรมไม่ได้ปกครอง การที่จะให้ธรรม

                  ที่ใช้ปกครองมีผลสืบลงไปทุกระดับ ธรรมก็ต้องมีในทุกระดับด้วย มิฉะนั้นเมื่อระบอบการปกครอง
                  เปลี่ยนไปหรือชื่อตำแหน่งของผู้ปกครองเปลี่ยนไปก็จะไม่อาจใช้ธรรมในการปกครองได้ เช่นบางประเทศ

                  ผู้ปกครองอาจเรียกว่าประธานาธิบดี แต่บทบาทการปกครองเป็นประมุขและนายกรัฐมนตรีอาจมี
                  บทบาทในการปกครองอย่างแท้จริง ราชาในระบอบการปกครองสมัยใหม่ดูที่ความเป็น
        เอกสารประกอบการอภิปราย   มีอยู่นั้นทุกระดับของการปกครองด้วย
                  ผู้ปกครองที่มีอำนาจในการปกครองอย่างแท้จริงว่ามีธรรมหรือไม่ และธรรมในการปกครองก็ต้อง
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108