Page 420 - kpi17968
P. 420
409
หต การ ตาก บ ก า ไม น
เดือนตุลาคม ปี 2558 ครบรอบ 10 ปีที่ผู้เขียนมีโอกาสเดินทางไปจังหวัด
นราธิวาสเป็นครั้งแรก เพื่อร่วมทีมตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์ตากใบ
การเดินทางครั้งนั้นนำพาให้เกิดการทำงานอย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมการเข้าถึง
ความยุติธรรมในจังหวัดชายแดนใต้และได้สัมผัสถึงสิ่งที่ใกล้ชิดกันอย่างยิ่งนั้นคือ
สิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรม
จากวันนั้นถึงวันนี้คำถามที่ว่าเหตุการณ์ตากใบเกิดขึ้นได้อย่างไรยังไม่มี
ความกระจ่าง ในขณะที่กระบวนการยุติธรรมตามระบบยุติธรรมไทยก็ตีบตันและ
สิ้นสุด การฟ้องคดีอาญาด้วยกลุ่มผู้เสียหายเองซึ่งก็เป็นการยาก คดีตากใบเป็น
กรณีที่เกิดการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมที่ถูกจับกุมจำนวน 78 คน ระหว่างเคลื่อนย้าย
ไปสอบปากคำยังค่ายอิงคยุทธบริหาร ซึ่งคดีนี้ศาลจังหวัดสงขลามีคำสั่งในสำนวน
ชันสูตรพลิกศพ หรือไต่สวนการตาย เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2552 ว่าตาย
เพราะ “ขาดอากาศหายใจ” ทีมทนายความจากสภาทนายความได้มีการยื่น
คำร้องต่อศาลอาญาให้เพิกถอนคำสั่งไต่สวนการตายดังกล่าว โดยระบุว่า “คำสั่ง
ไต่สวนการตายของศาลจังหวัดสงขลากรณีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการ
ชุมนุมอำเภอตากใบในคดีหมายเลขดำที่ ช.16/2548 คดีหมายเลขแดงที่ ช.8 /
2552 ที่ว่าผู้ตายทั้งหมดเสียชีวิตเนื่องจากขาดอากาศหายใจ โดยไม่กล่าวถึงเหตุ
และพฤติการณ์ที่ตาย”
กล่าวคือ ในคำสั่งไต่สวนการตาย ไม่ระบุข้อเท็จจริงเรื่องที่ผู้ถูกควบคุมตัว
จำนวน 78 คน ถูกบังคับให้ถอดเสื้อและมัดมือไขว้หลัง บังคับให้นอนคว่ำหน้ากับ
พื้นรถยนต์บรรทุก ทับซ้อนกันเป็นชั้น ประมาณ 4-5 ชั้น และไม่ระบุชื่อบุคคล
ผู้ออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติตาม
คำสั่ง ซึ่งเป็นผู้สั่งการหรือกระทำการอันเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จากคำ
ให้การของประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุจำนวนมาก และพยานหลักฐานต่างๆ
ในสำนวนได้ปรากฏข้อเท็จจริงทั้งหมดอย่างชัดแจ้ง รวมตลอดถึงข้อเท็จจริงสำคัญ
อื่นๆ ที่แสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม
ผู้ร่วมชุมนุม และนำตัวไปที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร โดยไม่คำนึงถึงหลักนิติธรรม
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกควบคุมตัวแต่อย่างใด
การประชุมกลุมยอยที่ 4