Page 424 - kpi17968
P. 424
413
สำหรับ พล.ต.ต.จักรทิพย์ ชัยจินดา โจทก์ในคดีนี้ ขณะร่วมสอบสวน
ผู้ต้องหาเมื่อปี พ.ศ. 2547 มียศเป็นพันตำรวจเอก ต่อมาแม้จะถูกดีเอสไอ และ
ป.ป.ช. ตั้งข้อกล่าวหาและสอบสวนในคดีเจ้าพนักงานตำรวจชุดสอบสวนซ้อม
ทรมานผู้ต้องหาดังกล่าวก็ตาม แต่ไม่ได้มีผลกระทบใดๆ ในการรับราชการ ยังได้
เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่งมีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานมากขึ้นโดยลำดับ
จนกระทั่งเป็นพลตำรวจเอก และปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการตำรวจ
แห่งชาติ
ต ร ชั น น ย
ระหว่างที่ทางมูลนิธิผสานวัฒนธรรมให้ความช่วยเหลือคดีแก่นายซูดีรือมัน
ทำให้มีความใกล้ชิดและพูดคุยกันในระหว่างการพิจารณาคดีดังกล่าวข้างต้นในช่วง
ปี 2553 เป็นเวลากว่า 6 ปี หลังจากที่เกิดเหตุการทำร้ายร่างกายบังคับให้
สารภาพเกิดขึ้น ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานายซูดีรือมันไม่ได้หลบหนีไปไหนได้ใช้
ชีวิตอยู่ในหมู่บ้านซึ่งก็ใกล้กับสถานีตำรวจที่เกิดเหตุการณ์ทรมาน และได้เล่าถึง
ประสบการณ์ที่ครั้งหนึ่งว่ามีตำรวจชั้นผู้น้อยนายหนึ่งตั้งด่านตรวจปกติบนถนน
ได้โบกมือให้นายซูดีรือมันจอดรถ นายซูดีรือมันเกิดความลังเลด้วยความกลัวและ
ไม่แน่ใจว่าจะจอดหรือจะทำอย่างไร แต่ก็ตัดสินใจจอดรถไปใกล้ๆ ขณะนั้นเองสิ่งที่
ไม่ได้คาดคิดก็เกิดขึ้น เมื่อนายตำรวจนายนั้นได้กล่าว “ขอโทษ” นายซูดีรือมัน
และกล่าวว่าในวันที่เกิดเหตุที่สถานีตำรวจตันหยง จังหวัดนราธิวาสนั้นตนได้
ทำร้ายนายซูดีรือมันและขอโทษด้วยที่ต้องทำไปเช่นนั้น นายซูดีรือมันเล่าเรื่องราว
ดังกล่าวด้วยในตาสดใสและสุขใจ นายซูดีรืมันได้กล่าวให้อภัยและการพบและจาก
กันวันนั้นก็ทำให้นายซูดีดีภูมิใจว่าสิ่งที่ตนพยายามเรียกร้องอยู่คือความเป็นธรรม
ได้เกิดขึ้นอย่างน้อยสิ่งที่ได้รับคือ “คำขอโทษ” ของผู้สำนึกผิด และเกิดจาก
“คำให้อภัย” ที่ตนได้พูดออกไป
นายซูดีรือมันเป็นหนึ่งใน 5 ลูกความของทนายสมชาย นีละไพจิตร
ที่หายตัวไปเพียงไม่กี่วันหลังจากเข้าพบปะและสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทรมาน
ในช่วงวันที่ 20-24 กุมภาพันธ์ 2547 ทนายสมชาย ถูกบังคับให้สูญหายไปใน
วันที่ 12 มีนาคม 2547 นับจนปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้าของคดีและไม่มีการ
การประชุมกลุมยอยที่ 4