Page 422 - kpi17968
P. 422

411




                         ดังที่ปรากฎอยู่ในตอนท้ายของฎีกาคำสั่งไต่สวนการตายที่ระบุอย่างชัดเจน

                   ถึงเหตุผลของการเรียกร้องความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรมที่ว่า คำสั่งของ
                   ศาลจังหวัดสงขลาที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ส่งผลให้เจ้าหน้าที่รัฐ
                   ไม่ต้องรับผิดในการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและสิทธิมนุษยชนแต่ประการใด

                   และอาจเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย
                   ละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคล โดยการปฏิบัติที่ทารุณ โหดร้าย และย่ำยีศักดิ์ศรี
                   ความเป็นมนุษย์ได้อีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อกระบวนการยุติธรรมกรณีตากใบ

                   ก้าวไม่พ้นไปจนถึงขั้นที่จะนำมาสู่การปรองดองและการฟื้นฟูเยียวยาที่เหมาะสม
                   ก็อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ความรุนแรงที่ยืดเยื้อยาวนานยังคงเกิดขึ้นต่อไป


                    หย    รมาน  กนายต ร      ห      กลับ


                         การเรียกร้องความยุติธรรมของผู้เสียหายจากการทรมาน นั้น มีสองนัยยะ

                   คือ การยืนยันสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานว่า “การทรมานเป็นสิ่งต้องห้าม” ทั้ง
                   หลักการด้านกฎหมายและศีลธรรม ในที่นี้หมายถึงทั้งกฎหมายไทยและกฎหมาย
                   สากล รวมทั้งหลักศีลธรรมไทยและศิลธรรมในทุกศาสนา การทำร้ายร่างกายกัน

                   เป็นความผิดและต้องได้รับการลงโทษ และการยุติสิ่งที่เรียกว่า “การปล่อยให้
                   คนผิดลอยนวล” หรือในภาษาอังกฤษมักใช้คำว่า “Impunity” ทั้งสองสิ่งยังคง
                   เป็นประเด็นที่แสนยากเข็ญในสังคมไทย


                         ในประเทศไทยการทรมานยังไม่เป็นความผิดอาญาเป็นเพียงความผิดฐาน
                   ทำร้ายร่างกาย ซึ่งเหยื่อหรือผู้เสียหายจากการทรมานมักจะไม่กล้าร้องเรียน ไม่มี

                   หลักฐาน ไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือจากหน่วยงานอิสระได้ทันท่วงที มีบ้าง
                   กรณีอาจได้รับความช่วยเหลือและเข้าถึงการร้องเรียนได้ ยกตัวอย่างกรณี
                   นายซูดีรือมัน มาเละ พื้นเพชาวนราธิวาส ถูกควบคุมตัวไปพร้อมๆ กับชาวบ้าน

                   หลายสิบคนหลังเหตุการณ์ปล้นปืนเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 และถูกทำร้าย
                   ร่างกายบังคับให้สารภาพว่ามีส่วนร่วมในเหตุการณ์ปล้นปืนในครั้งนั้น


                         ชะตาชีวิตของซูดีรือมันพลิกผันจากผู้เสียหายจากการทรมานมาเป็น
                   “จำเลย” ที่นายตำรวจผู้ใหญ่ฟ้องร้องดำเนินคดีด้วยตนเองตั้งแต่ปี พ.ศ.2552
                   โดยพล.ต.ต.จักรทิพย์ ชัยจินดา (ยศในขณะนั้น) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายซูดีรือมัน





                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 4
   417   418   419   420   421   422   423   424   425   426   427