Page 502 - kpi17968
P. 502

491




                                 2) การปกครองและผู้ปกครองที่ดีที่สุดได้แก่ ระบบการปกครอง

                                    ที่มุ่งสร้างสรรค์สังคมมนุษย์ให้เป็นสังคมที่ดี มีระเบียบให้อยู่
                                    ด้วยความสงบสุขและอุดมสมบูรณ์ 5


                            ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งที่ประเทศ
                   ส่วนใหญ่นิยมกัน ซึ่งอำนาจการบริหารรัฐมาจากเสียงข้างมากกล่าวคือ ประชาชน
                   เป็นผู้ใช้อำนาจของตนโดยผ่านผู้แทนที่เลือกเข้าไป ซึ่งอำนาจของตนก็จะตกไปอยู่

                   ที่ผู้แทนเหล่านั้น และผู้แทนเหล่านั้นก็จะเข้าไปใช้อำนาจเหล่านั้นในรัฐสภา
                   เรียกว่า คณะผู้บริหารประเทศ โดยสมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก

                   ว่าจะ “เห็นชอบให้ทำอะไรหรือไม่เห็นชอบในการทำอะไร” สำหรับประชาธิปไตย
                   ทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล
                   อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ
                   การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้งเท่านั้น


                            แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดย
                   ทั่วไปแต่มีการระบุว่า “ความเสมอภาคและอิสรภาพ” เป็นคุณลักษณะสำคัญของ

                   ประชาธิปไตย ซึ่งหลักการดังกล่าวสะท้อนออกมาผ่านความเสมอภาคทาง
                   กฎหมายของพลเมืองทุกคน และสิทธิเข้าถึงกระบวนการทางกฎหมายโดยเท่า

                   เทียมกัน ตัวอย่างเช่นในประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ทุกเสียงมีน้ำหนักเท่ากันทั้ง
                   สิ้นและไม่มีการจำกัดอย่างไร้เหตุผลโดยใช้บังคับกับทุกคนที่ปรารถนาเป็นผู้แทน
                   ส่วนอิสรภาพได้มาจากสิทธิและเสรีภาพตามที่กฎหมายบัญญัติซึ่งโดยทั่วไปได้รับ
                   การคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว



                      7.2. หลักนิติธรรม


                           หลักนิติธรรมมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Rule of Law ซึ่งมีผู้ให้คำ
                   แปลไว้หลายอย่าง อาทิ หลักพื้นฐานแห่งกฎหมายหลัก การปกครองด้าน
                   กฎหมาย หลักแห่งกฎหมาย หลักยุติธรรมตามกฎหมาย รวมทั้งคำแปลอื่นๆ




                       5   ที.ปา.๓/๑๔/๑๖๕.






                                                                 บทความที่ผานการพิจารณา
   497   498   499   500   501   502   503   504   505   506   507