Page 501 - kpi17968
P. 501
490
ของพระองค์นั้นทรงอยู่เหนือการเมือง ดังนั้น จึงทำให้พระองค์ทรงได้รับการ
ยอมรับและเคารพนับถือจากประชาชนและเจ้าผู้ครองนครรัฐต่างๆ อย่างสูงยิ่งจน
ตลอดพระชนชีพ พุทธกิจด้านการเมืองของพระพุทธองค์นั้น พระองค์มิได้เข้าไป
เกี่ยวข้องกับกิจการภายในของรัฐแต่อย่างใด แต่ทรงเข้าไปช่วยแก้ปัญหาและ
เสนอแนะหลักในการปกครองที่จะช่วยทำให้รัฐมีความมั่นคงและสามารถปกครอง
ให้ประชาชนมีความสงบสุข อาจกล่าวได้ว่า พระองค์ทรงเข้าไปเสนอแนะหลัก
รัฐศาสตร์หรือหลักการปกครองรัฐตามแนวพุทธรัฐต่างๆ ที่พระองค์ทรงเข้าไป
เกี่ยวข้องนั้นมีหลายรัฐ แต่รัฐที่มีความใกล้ชิดมากกว่ารัฐอื่นๆ มีด้วยกัน 3 รัฐคือ
รัฐมคธ รัฐโกศล รัฐวัชชี เป็นต้น” 4
ประ ยชน า า ะไ รับ
1) ทำให้ทราบถึงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครอง
2) ทำให้ทราบถึงพฤติกรรมของผู้ใช้อำนาจรัฐ
3) ทำให้ทราบถึงจิตสำนึกของผู้ใช้อำนาจรัฐในการปกครอง
ิ ประชาธิปไตย
7.1 ประชาธิปไตย
ความคิดเห็นเกี่ยวกับการปกครอง หลักอัคคัญญสูตร ในพระสุตตัน-
ตปิฎก ได้กล่าวถึงการปกครองเอาไว้ดังนี้
1) วิวัฒนาการสังคมการเมืองและความจำเป็นที่ต้องมีการ
ปกครองคือ โลกมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ก่อนมีมนุษย์จนกระทั่ง
มีมนุษย์ที่เป็นครอบครัวเป็นสังคมและมีหัวหน้าเพื่อช่วยเหลือ
ควบคุมให้สังคมนั้นๆ อยู่อย่างปกติสุขและต้องมีกฎระเบียบ
เป็นกรอบแนวทางปฏิบัติ
4 พระแก่นจันทร์ สุจิต์โต (สีพันนา), “ศึกษาเชิงวิเคราะห์รัฐศาสตร์แนวพุทธในมิติ
ทศพิธราชธรรม”, วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย
มหา มกุฏราชวิทยาลัย, 2553), หน้า 54.
บทความที่ผานการพิจารณา