Page 508 - kpi17968
P. 508
497
ทั้งตัวเองและผู้อื่น และการรู้ในสิ่งที่ตนไม่รู้ก็ย่อมก่อให้เกิดการพัฒนาหรือเรียนรู้
ต่อไป
แต่ความรู้ในทัศนะของพุทธศาสนา ถือว่าเป็นความรู้ที่ประเสริฐที่สุด
เพราะถ้าเรารู้ตัวเองเข้าใจตัวเอง ก็เท่ากับเรารู้ว่าอะไรคือปัจจัยที่นำไปสู่ความเสื่อม
อะไรคือปัจจัยที่นำไปสู่ความเจริญ กล่าวคือรู้ในความเป็นไปทั้งทางโลกและทาง
ธรรม คือรู้ว่า อะไรควรทำก่อน อะไรควรทำหลัง อะไรควรหยุดทำ อะไรควรทำต่อ
รู้จัก คน เวลาและสถานที่ อะไรควรเปลี่ยนแปลง อะไรควรคงเอาไว้ กล่าวคือรู้ใน
ทุกอย่างรู้เท่าทันในทุกเรื่องทั้งสิ่งถูกสิ่งผิด รวมเรียกว่า “คนมีธรรม” หรืออีก
ประโยคหนึ่งกล่าวว่า “บุคคลชนะอยู่ ย่อมประสบซึ่งเวร บุคคลยังบุคคลอื่นให้แพ้
แล้วย่อมนอนลำบาก บุคคลผู้เข้าไปสงบแล้ว ละแล้วซึ่งความพ่ายแพ้และ
ความชนะ ย่อมนอนสบาย” ซึ่งหลักธรรมเหล่านี้จะต้องมีอยู่ในผู้ปกครองในทุก
8
ระดับชั้น ถามว่าบุคคลผู้ใช้อำนาจรัฐถือกฎหมายอยู่ในมือ เป็นผู้ทรงธรรม
มากน้อยแค่ไหนในการจะตัดสินว่าใครถูกใครผิด กล่าวคือ บุคคลที่จะใช้อำนาจรัฐ
จะต้องมีทั้งความรู้และธรรมะอย่างแท้จริง ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งที่จะอยู่ในฐานะผู้ใช้
กฎหมายและผู้ให้ความเป็นธรรม ดังนั้นความรู้ที่บุคคลทั่วไปพึงมี สามารถหาได้
2 ทาง คือ
1. ความรู้ที่อยู่นอกระบบการศึกษา คือ จากประสบการณ์โดยตรงที่ได้
จากสิ่งที่แวดล้อมทั่วไป ซึ่งอาจจะมีทั้งถูกและผิด
2. ความรู้ที่อยู่ในระบบการศึกษา คือ จากกระทรวงศึกษาธิการ โดยที่
คุณครูทั้งหลายพยายามบ่มอบรมสั่งสอนเราตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงระดับ
ปริญญา เพื่อที่จะให้ได้นักศึกษามีคุณภาพดี คือ ให้รู้ว่าอะไรคุณอะไรโทษ อะไร
คือทางเสื่อม อะไรคือทางเจริญ และทุกคนก็ควรที่จะปฏิบัติไปตามนั้น
ความรู้ต่างๆ ที่เราได้มาไม่ว่าจะจากประสบการณ์โดยตรงซึ่งมีทั้งถูก
และผิด หรือกระบวนการเรียนรู้ที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองก็ตาม ซึ่งความรู้
เหล่านั้นหรือข้อมูลเหล่านั้นก่อนที่จะกลายมาเป็นความรู้อย่างที่เราเข้าใจได้ใน
8 สามเณรอุทิศ ศิริวรรณ, ธรรมบทภาค 6, แปลโดยพยัญชนะ, (กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง, 2531), หน้า 128.
บทความที่ผานการพิจารณา