Page 556 - kpi17968
P. 556
545
จริงจัง และผลการแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาของรัฐธรรมนูญครั้งนี้ทำให้เสียงข้างน้อย
ถูกข่มเหงรังแกจนอยู่ในสภาพไร้ที่ยืน การผนึกกำลังของเสียงข้างมากจนกลายเป็น
ระบบเผด็จการรัฐสภาที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรง ลำพัง
กลไกการตรวจสอบ ของฝ่ายค้านก็ไม่อาจถ่วงดุลต้านทานพลังเสียงข้างมาก
ทางการเมืองได้ ดังนั้นศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่อาจวางเฉยและต้องเข้ามาทำหน้าที่
คานอำนาจและถ่วงดุลเสียงข้างมากทางการเมืองในรัฐสภา อย่างเข้มแข็งจริงจัง
การเข้ามามีบทบาทของสถาบันตุลาการดังกล่าวไม่ควรถือว่าเป็นการช่วยเหลือ
ฝ่ายค้านหรือขัดขวางการทำหน้าที่ของรัฐสภาและรัฐบาล แต่เป็นการเข้ามามี
บทบาทเพื่อให้เกิดดุลยภาพการเมืองที่เหมาะสมสำหรับสังคมประชาธิปไตย
ของไทย คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญในคดีแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550
ดังกล่าวจึงนับว่าออกมาในช่วงเวลาที่เหมาะสม
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญไทยแนวโครงสร้างนิยมดังกล่าวจึงถูกโจมตี
อย่างหนักเช่นเดียวกับคำวินิจฉัยลักษณะเดียวกันนี้ในสหรัฐอเมริกาและอินเดีย
ก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะการโจมตีของผู้พิพากษาและนักกฎหมายรุ่นอาวุโสที่บางคน
ไปไกลถึงขนาดยืนกรานว่า คำวินิจฉัยนี้ไม่มีผลในทางกฎหมาย เนื่องจากศาล
รัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยไม่มีอำนาจ จึงเท่ากับไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
แต่การโจมตีของผู้พิพากษาและนักกฎหมายเหล่านี้เป็นการโจมตีว่า
คำวินิจฉัยนี้ไม่ต้องด้วยหลักนิติศาสตร์สำนักปฏิฐานนิยม (Legal positivism)
จึงเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความรัฐธรรมนูญโดยใช้วิธีตีความกฎหมาย
ธรรมดาในแนวความยุติธรรมตามกฎหมาย (Legal justice) โดยไม่คำนึงถึง
ความแตกต่างกันระหว่างศาลรัฐธรรมนูญที่มีบทบาทในการถ่วงดุลและคานอำนาจ
ฝ่ายนิติบัญญัติกับศาลธรรมดาที่มีบทบาทในการบังคับใช้กฎหมายของฝ่าย
นิติบัญญัติกับกรณีพิพาททางแพ่งและทางอาญา ซึ่งข้อเรียกร้องเช่นนี้ยากที่จะรับ
ฟังได้ในยุคแห่งความยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญ (Constitutional justice) และ
ธรรมาภิบาลรัฐธรรมนูญ (Constitutional governance) ในการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยตามหลักนิติธรรม
การดำรงอยู่ร่วมกันของแนวคิดทฤษฎีตีความรัฐธรรมนูญที่แตกต่างกัน
มากกว่าสองทฤษฎีเช่นนี้มีให้เห็นได้ในระบบกฎหมายของประเทศชั้นนำเกือบทุก
บทความที่ผานการพิจารณา