Page 551 - kpi17968
P. 551

540



                  3.2 อิทธิพลของการตีความรัฐธรรมนูญของศาลสูงสุดสหรัฐต่อ

               ศาลรัฐธรรมนูญไทย


                       ในประเทศไทย คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 15-18/2556 เห็นว่า
               ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างรัฐธรรมนูญ

               แห่งราชอาณาจักรไทยฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว
               ศาลรัฐธรรมนูญมิได้ตีความรัฐธรรมนูญตามตัวอักษรหรือตามข้อความของ
               บทบัญญัติลายลักษณ์อักษรของรัฐธรรมนูญ อีกทั้งมิได้ตีความโดยยึด

               วัตถุประสงค์ที่เห็นได้จากบทบัญญัติลายลักษณ์อักษรของรัฐธรรมนูญ แต่ศาล
               รัฐธรรมนูญอ้างสถานะ Higher Law ของหลักนิติธรรมที่มิได้มีอยู่ในบทบัญญัติ
               ลายลักษณ์อักษรของรัฐธรรมนูญ การตีความของศาลรัฐธรรมนูญแนวทฤษฎี

               โครงสร้างนิยมมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงหรือต่อเติมบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่มีอยู่
               แล้ว เสมือนเป็นการใช้อำนาจนิติบัญญัติของรัฐสภาโดยฝ่ายตุลาการ การตีความ
               รัฐธรรมนูญที่ใช้ข้อพิจารณาที่มิได้มีอยู่ในบทบัญญัติลายลักษณ์อักษรของ

               รัฐธรรมนูญแบบนี้ ถ้าพิจารณาโดยอาศัยหลักการตีความตามแนวทฤษฎีนิตินิยม
               ของสำนักกฎหมายบ้านเมืองแล้ว ถือว่าคำวินิจฉัยนี้เป็นการไม่ชอบอย่างแน่นอน
               และเป็นคำวินิจฉัยที่ยากอย่างยิ่งสำหรับนักกฎหมายที่ยังยึดติดอย่างเหนียวแน่น

               กับแนวทฤษฎีนิตินิยมของสำนักกฎหมายบ้านเมืองจะยอมรับกันได้

                       แต่เหตุผลที่ปรากฏในคำวินิจฉัยเท่ากับศาลรัฐธรรมนูญประกาศชัดเจน

               ว่า ในการวินิจฉัยเรื่องนี้ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ยึดจารีตนิติศาสตร์ของสำนัก
               กฎหมายบ้านเมือง ดังที่สถาบันตุลาการไทยได้ยึดถือและสั่งสอนกันมาเป็นเวลา
               นานหลายชั่วอายุคนอีกต่อไปแล้ว โดยเฉพาะเหตุผลที่ศาลรัฐธรรมนูญได้ยก

               หลักนิติธรรมขึ้นมาสนับสนุนคำวินิจฉัยว่าเป็น “ความยุติธรรมขั้นพื้นฐานสำคัญ
               ของกฎหมายที่อยู่เหนือบทบัญญัติลายลักษณ์อักษรของรัฐธรรมนูญ” หรือที่
               ศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่า สถานะของศาลรัฐธรรมนูญเองเป็นสถานะที่รัฐธรรมนูญ

               กำหนด “ให้มีอำนาจหน้าที่สำคัญในการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจ เพื่อ
               ให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม” เป็นเหตุผลปรัชญาการเมืองที่ปรุงแต่ง “บทบัญญัติ
               ลายลักษณ์อักษร” ของรัฐธรรมนูญจนมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลง “บทบัญญัติ

               ลายลักษณ์อักษร” ของรัฐธรรมนูญ จึงมีผลเท่ากับศาลรัฐธรรมนูญ ได้ประกาศ






                    บทความที่ผานการพิจารณา
   546   547   548   549   550   551   552   553   554   555   556