Page 555 - kpi17968
P. 555
544
คิดเกี่ยวกับสถานะอันควรแก่การยกย่องของรัฐสภาไทย ซึ่งเป็นรากฐานทาง
ปรัชญาของทฤษฎีนิติศาสตร์สำนักกฎหมายบ้านเมือง
สถานะของรัฐสภาไทยแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากสถานะของรัฐสภา
ฝรั่งเศสและอังกฤษในช่วงที่ทฤษฎีนิติศาสตร์ของสำนักกฎหมายบ้านเมืองรุ่งเรือง
สูงสุด และแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากสถานะของพระมหากษัตริย์สมัย
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ทรงมีพระราชอำนาจในการตราพระราชกำหนดกฎหมาย
ในช่วงที่กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ได้ทรงนำทฤษฎีนิติศาสตร์สำนักนี้เข้ามา
ปลูกฝังแก่ผู้พิพากษาไทย ปัจจุบันนี้มีความแตกแยกทางการเมืองอย่างรุนแรง
ในสังคมไทย ซึ่งสำแดงปรากฏในรัฐสภาที่เป็นผลให้รัฐสภาไทยอยู่ในสถานะตกต่ำ
สุดขีดย่อมทำลายมนต์ขลังคำสอนนักนิติศาสตร์สำนักปฏิฐานนิยมที่ให้ประชาชน
ยอมรับกฎหมายของรัฐสภาโดยปราศจากการคานและถ่วงดุลอำนาจอย่างจริงจัง
ความคิดของคนทั่วไปมองว่ารัฐสภาไทยมิได้อยู่ในสถานะอันควรแก่การยกย่อง
อย่างนี้ น่าจะทำให้สถาบันตุลาการไทยมีความชอบธรรมเป็นอย่างสูงที่จะปฏิบัติ
หน้าที่ตามหลักนิติธรรมที่ควรต้องทำ แต่ไม่ได้กระทำมาเป็นเวลานานคือ การเข้า
มาถ่วงดุลและคานอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติอย่างเข้มแข็งจริงจัง โดยนำทฤษฎีตีความ
รัฐธรรมนูญแนวโครงสร้างนิยมนี้เข้ามาใช้ดังเช่นในคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่
15-18/2556 ดังกล่าวข้างต้น
เหตุการณ์ทางการเมืองปัจจุบันมีความขัดแย้งระหว่างเสียงข้างมากกับ
เสียงข้างน้อยอย่างรุนแรง เสียงข้างมากในรัฐสภามีแนวโน้มคุกคามคุณค่าและ
คุณธรรมขั้นพื้นฐานของหลักนิติธรรมในสังคมประชาธิปไตยของไทย ปัญหา
การทุจริตของนักการเมืองและข้าราชการเป็นสาเหตุสำคัญซึ่งทำให้ประเทศชาติ
ประสบปัญหาวิกฤติอย่างรุนแรงที่หลายภาคส่วนพยายามหาทางออกจากปัญหานี้
แต่นักการเมืองเสียงข้างมากกลับพยายามออกกฎหมายนิรโทษกรรมล้างความผิด
ฐานทุจริตต่อหน้าที่แก่นักการเมืองและข้าราชการทุกคน ถ้านักการเมืองและ
ข้าราชการที่ถูก คตส. และ ป.ป.ช. กล่าวหานั้น หรือนักการเมืองกลุ่มเดียวกันนี้
ได้ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งนี้
ได้สำเร็จ ศาลรัฐธรรมนูญจึงชี้ว่าเป็นการกระทำเพื่อเสียงข้างมากทางการเมือง
ซึ่งครองอำนาจรัฐได้ใช้อำนาจรัฐโดยปราศจากการคานและถ่วงดุลอำนาจอย่าง
บทความที่ผานการพิจารณา