Page 554 - kpi17968
P. 554
543
สถาบันตุลาการไทย ทฤษฎีตีความแนวนิตินิยมของสำนักกฎหมายบ้านเมืองก็ยัง
เป็นทฤษฎีเดียวที่ครอบงำสังคมนิติศาสตร์ไทยอยู่จนผู้พิพากษาและนักกฎหมาย
ไทยทั่วไปเข้าใจว่าวิธีตีความกฎหมายมีอยู่วิธีเดียว คือ วิธีตีความแนวนิตินิยมของ
สำนักกฎหมายบ้านเมือง ซึ่งห้ามมิให้ศาลนำข้อพิจารณาที่มิได้มีอยู่ใน “บทบัญญัติ
ลายลักษณ์อักษร” ของกฎหมายมาใช้ เพราะเป็นการสร้างกฎหมายซึ่งเป็นอำนาจ
นิติบัญญัติที่อยู่ในอำนาจของรัฐสภา
แม้ว่าทฤษฎีตีความแนวนิตินิยมของสำนักกฎหมายบ้านเมืองจะ
ครอบงำบริบทสังคมนิติศาสตร์ของไทย จนผู้พิพากษาและนักกฎหมายไทยเชื่อกัน
ว่า วิธีตีความกฎหมายของสำนักนี้เป็นวิธีตีความกฎหมายวิธีเดียวที่มีอยู่ และต้อง
นำไปใช้กับการตีความรัฐธรรมนูญด้วยก็มิได้หมายความว่า ความสำเร็จของ
สถาบันตุลาการไทยที่จะนำวิธีตีความรัฐธรรมนูญแนวโครสร้างนิยมมาใช้ใน
ประเทศไทยจะเป็นการพ้นวิสัยเสียทีเดียว จากประสบการณ์ของต่างประเทศ
นอกจากศาลสูงสุดสหรัฐแล้ว ศาลของประเทศอื่นๆ ที่ใช้วิธีตีความรัฐธรรมนูญ
แนวโครงสร้างนิยมต่างล้วนเคยเป็นศาลที่เคยอยู่ในจารีตนิติศาสตร์แนวสำนัก
ปฏิฐานนิยมทั้งสิ้น ดังเช่นศาลฎีกาอินเดียซึ่งได้รับการยกย่องในการสร้างทฤษฎี
รัฐธรรมนูญที่รู้จักกันในนามหลักโครงสร้างพื้นฐานก็เคยเจริญรอยตามอังกฤษ
โดยตีความบทบัญญัติลายลักษณ์อักษรอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แม้แต่อังกฤษเอง
ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของนักนิติศาสตร์สำนักกฎหมายบ้านเมืองคนสำคัญ คือ เจรามี
เบนธัม และจอห์น ออสติน ซึ่งนักนิติศาสตร์อังกฤษส่วนใหญ่มีแนวคิดอนุรักษ์
นิยมอย่างสุดขีดในขณะนี้ก็กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญ โดยมีนักนิติศาสตร์
จำนวนหนึ่งรวมตัวกันฟื้นฟูหลักกฎหมายคอมมอนลอว์เพื่อการคุ้มครองสิทธิ
ขั้นพื้นฐานของประชาชนจากการใช้อำนาจบาตรใหญ่ ของฝ่ายนิติบัญญัติ
ในรัฐสภาซึ่งเป็นกระแสรัฐธรรมนูญนิยมที่อาศัยคอมมอนลอว์ (Common law
constitutionalism) นับวันจะทวีความแข็งแกร่งขึ้นเป็นลำดับ และได้รับการ
ตอบสนองในทางบวกโดยสถาบันตุลาการอังกฤษ ประสบการณ์ของต่างประเทศ
แสดงให้เห็นว่า การหยั่งรากลึกของทฤษฏีนิติศาสตร์สำนักกฎหมายบ้านเมืองมิได้
เป็นเงื่อนไขของความสำเร็จหรือล้มเหลวของการนำทฤษฎีรัฐธรรมนูญแนวใหม่
ของสำนักโครงสร้างนิยมมาปลูกฝัง แต่เงื่อนไขน่าจะเป็นความแข็งแกร่งของความ
บทความที่ผานการพิจารณา