Page 552 - kpi17968
P. 552

541




                   อย่างชัดเจนแล้วว่า ศาลรัฐธรรมนูญมิได้ตีความโดยยึด “บทบัญญัติลายลักษณ์

                   อักษร” ของรัฐธรรมนูญ แต่ศาลรัฐธรรมนูญได้ใช้แนวคิดทฤษฎีตีความ
                   รัฐธรรมนูญแนวโครงสร้างนิยมที่เปิดทางให้ฝ่ายตุลาการมีหน้าที่ที่สำคัญกว่าหน้าที่
                   ในฐานะผู้รับใช้ฝ่ายนิติบัญญัติตามแนวคิดปฏิฐานนิยมของสำนักกฎหมายบ้านเมือง

                   โดยอาณัติแห่งจิตวิญญาณรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญ จึงทำหน้าที่สำคัญที่ควร
                   ต้องทำคือ การถ่วงดุลและคานอำนาจนิติบัญญัติอย่างเข้มแข็งจริงจัง
                   โดยค้นหาหลักรัฐธรรมนูญนอกเหนือบทบัญญัติลายลักษณ์อักษรซึ่งเป็นฐานราก

                   สำคัญที่แท้จริงของบทบัญญัติลายลักษณ์อักษรของรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับการ
                   ปฏิบัติหน้าที่ของศาลสูงสุดสหรัฐตามหลักศุภนิติกระบวน (Due process of
                   law) ความเปลี่ยนแปลงในจารีตนิติศาสตร์ของไทยอันเป็นผลมาจากคำวินิจฉัย

                   ศาลรัฐธรรมนูญในคดีนี้นับว่ามีผลไม่น้อยไปกว่าคำวินิจฉัยคดี Marbury v.
                   Madison ที่ศาลสูงสุดสหรัฐสถาปนาระบบ Judicial review ในปี ค.ศ. 1803
                   และในคดี Kevasanand Bharati v. Kerala ที่ศาลฎีกาอินเดียสถาปนาหลัก

                   โครงสร้างพื้นฐานในปี ค.ศ. 1973 ดังนั้น คำวินิจฉัยนี้จึงสั่นสะเทือนวงวิชาการ
                   นิติศาสตร์และวงวิชาชีพตุลาการในประเทศไทยอย่างแน่นอน ปัญหาว่าคำวินิจฉัย
                   ศาลรัฐธรรมนูญที่ก้าวหน้าไปไกลขนาดนี้จะได้รับการยอมรับหรือไม่น่าจะอยู่ที่ว่า

                   ในบริบทสังคมนิติศาสตร์ไทย ทฤษฎีนิติศาสตร์ของสำนักกฎหมายบ้านเมือง
                   อ่อนกำลังลงพอที่ทฤษฎีกฎหมายใหม่ของสำนักโครงสร้างนิยมที่มีนักกฎหมาย
                   ไม่มากนักรู้จักนี้พอจะแทรกพื้นที่ขึ้นมามีอิทธิพลในวงการนิติศาสตร์ไทยได้หรือไม่

                   เพียงใด

                           ในคดีพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม พ.ศ. 2488 ที่สภาผู้แทน

                   ราษฎรได้ให้ความเห็นชอบตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475
                   ผู้เสนอร่างพระราชบัญญัตินี้คือรัฐบาลที่จัดตั้งภายหลังจากที่ประเทศไทยได้รับการ
                   ยอมรับจากประเทศมหาอำนาจในสงครามโลกครั้งที่สองว่าเป็นประเทศ

                   ชนะสงคราม ทันทีที่จัดตั้งรัฐบาลที่ได้รับการสนับสนุนจากประเทศมหาอำนาจ
                   รัฐบาลได้เสนอร่างพระราชบัญญัตินี้บัญญัติเอาผิดกับบุคคลในรัฐบาลชุดที่
                   ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรและร่วมมือหรือรู้เห็นเป็นใจกับรัฐบาลญี่ปุ่น

                   และเยอรมนีภายใต้การนำของอด็อฟ ฮิตเลอร์ ซึ่งพระราชบัญญัตินี้เรียกว่า







                                                                 บทความที่ผานการพิจารณา
   547   548   549   550   551   552   553   554   555   556   557