Page 553 - kpi17968
P. 553

542




               “ผู้ทำสงครามรุกราน” โดยบัญญัติให้การกระทำของบุคคลดังกล่าวเป็นความผิด

               อาญาที่มีโทษประหารชีวิต และให้ศาลฎีกาเป็น “ศาลอาชญากร สงคราม”
               ที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามพระราชบัญญัตินี้ ปรากฏว่าศาลฎีกาใน
               คำพิพากษาที่ฎีกาที่ 1/2489 พิพากษาว่า พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลเป็นการ

               ลงโทษบุคคลย้อนหลัง จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญและเป็นโมฆะ ส่วนอำนาจของ
               ศาลฎีกาที่จะวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของพระราชบัญญัตินี้ ซึ่ง
               รัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อำนาจศาลฎีกา ในมาตรา 62 ของรัฐธรรมนูญกลับบัญญัติ

               อีกว่า “สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งสิทธิในการตีความแห่งรัฐธรรมนูญ”
               ศาลฎีกาโดยหลวงจำรูญเนติศาสตร์ ผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งในเวลาต่อมาเป็น
               ประธานศาลฎีกาที่ได้รับยกย่องว่าเป็นนักกฎหมายยิ่งใหญ่ของไทยก็ได้เหตุผลใน

               ทำนองเดียวกับเหตุผลในคดี Marbury v. Madison ว่า “ในการใช้หรือบังคับตาม
               กฎหมายนั้น ศาลย่อมต้องแปลหรือตีความกฎหมาย หากไม่ให้ศาลแปลศาล
               ก็ย่อมใช้กฎหมายไม่ได้” แต่คำพิพากษาฎีกาฉบับนี้จะไม่ได้รับการชื่นชมและ

               เดินตามโดยคำพิพากษาฎีกาฉบับหลังๆ อย่างในคดี Marbury v. Madison ของ
               สหรัฐ คงเป็นเพราะ ผู้ได้รับประโยชน์จากคำพิพากษาฎีกานี้มิใช่เหยื่อที่ถูกกระทำ
               ทารุณโหดร้ายโดยบุคคลผู้ครองอำนาจรัฐตามแนวคิดการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน

               โดยสถาบันตุลาการ แต่กลับเป็นว่า สถาบันตุลาการคุ้มครองบุคคลผู้ครองอำนาจ
               รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องการกระทำทารุณโหดร้ายเสียเอง


                       เบื้องหลังคดีนี้มีการพูดกันไปต่างๆ นานาว่า นักกฎหมายไทยระดับ
               บรมครู ซึ่งมีส่วนในการตราพระราชบัญญัตินี้หลายคนรู้กันดีว่า ผลของคำ
               พิพากษาจะออกมาอย่างไร การตราพระราชบัญญัตินี้ก็เพียงเพื่อช่วยคนไทยด้วย

               กันเอง โดยประเทศไทยได้ถูกกดดันอย่างหนักจากประเทศมหาอำนาจให้ส่งตัว
               จอมพลแปลก พิบูลสงครามกับพวกไปดำเนินคดีที่ศาลอาชญากร สงครามระหว่าง
               ประเทศ เช่นเดียวกับอดีตผู้นำประเทศอื่นๆที่แพ้สงคราม วิธีเดียวที่เป็นข้ออ้าง

               ไม่ส่งตัวบุคคลเหล่านี้ไปดำเนินคดีก็คือ การตราพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม
               กำหนดการกระทำนั้นว่าเป็นความผิดและดำเนินคดีแก่บุคคลเหล่านี้เสียเอง
               ซึ่งนักกฎหมายระดับบรมครูรู้อยู่แล้วว่า ถึงอย่างไรในที่สุดบุคคลเหล่านี้ก็ต้องถูก

               ยกฟ้อง ความจริงเป็นอย่างไรยากที่จะยืนยัน แต่คำพิพากษาฎีกาที่ดูก้าวหน้า
               ฉบับนี้มิได้ถูกเดินตามและไม่มีบทบาทใดๆ ในการพัฒนาวิธีตีความกฎหมายของ





                    บทความที่ผานการพิจารณา
   548   549   550   551   552   553   554   555   556   557   558