Page 569 - kpi17968
P. 569

558




               อยู่ในความหมายของนิติสำนึก Susan S. Silbey ได้ศึกษาแนวคิดนิติสำนึก

               ร่วมกับ Patricia Ewick โดยเขียนหนังสือชื่อ “The Common Place of Law-
               Stories from Everyday Life” สรุปความได้ว่านิติสำนึกเป็นรูปแบบของการ
               เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการประกอบสร้างความชอบด้วยกฎหมาย (legality)

               โดยศึกษาว่ากฎหมายปฏิบัติการในชีวิตประจำวันอย่างไร และถูกหลอมรวม
               ในบริบททางสังคมอย่างไร ผ่านรูปแบบของนิติสำนึก 3 ประการ ได้แก่ ทุกคน
               เสมอกันเบื้องหน้ากฎหมาย (before the law) เราใช้กฎหมาย (with the law)

               และเราต่อต้านกฎหมาย (against the law) โดยพวกเขาได้นำนิติสำนึกมาสืบ
               ค้นหาร่องรอยการปรากฏตัวของกฎหมายในสังคม แทนที่วิธีการศึกษาสังคมวิทยา
               กฎหมายที่มุ่งเน้นการค้นหาความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุเป็นผลระหว่างกฎหมายและ

               สังคม (Cowan, 2004, p.928) อย่างที่เคยเป็นที่นิยมศึกษากันในอดีต

                     รูปแบบนิติสำนึกของกลุ่มอนุรักษ์ฯ บ้านกรูด-บางสะพานมีพัฒนาการจาก

               จุดเริ่มต้นของกระบวนการเคลื่อนไหวที่ชาวบ้านผู้คัดค้านต่างเห็นสอดคล้องกันว่า
               ทุกคนเสมอกันเบื้องหน้ากฎหมาย ตามนัยนี้คือกฎหมายมีความยุติธรรมโดยตัว
               ของมันเอง ความเชื่อเช่นนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ชาวบ้านผู้คัดค้านในชุมชนบ้าน

               กรูด สมัยเมื่อ พ.ศ. 2540 มารวมตัวกัน เริ่มต้นจากการเรียกร้องขอทราบข้อมูล
               ข่าวสารเกี่ยวกับโครงการโรงไฟฟ้าหินกรูดจากหน่วยงานของรัฐ ทั้งในระดับ
               ท้องถิ่น ระดับจังหวัดและหน่วยงานกลางและต้องเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่รัฐและ

               เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ปฏิบัติต่อพวกเขาเหมือนตีลูกปิงปองไปมา แต่ละหน่วยงาน
               ต่างอ้างว่าเป็นความรับผิดชอบ ของหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่หน่วยงานตนเอง
               จนสุดท้ายชาวบ้านก็ต้องกลับมาตั้งหลักที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.)

               โดยเชื่อว่าถ้าหน่วยงานในพื้นที่ไม่อนุญาต โครงการพัฒนาใดก็ตามไม่สามารถเริ่ม
               ดำเนินการที่ชุมชนได้อย่างแน่นอน สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ
               จึงต้องได้รับการรับรองในทางปฏิบัติจาก อบต. ของพวกเขา


                        “การตั้งโรงไฟฟ้าเป็นความผิดของท้องถิ่น อบต. ผิด คุณไม่เซ็น
                   ก็ได้ ถ้า อบต. ไม่อนุญาต เรื่องนี้ก็ไม่จะเกิด โรงงานจะตั้งได้หรือแม้ว่า

                   ครม. ให้สร้างได้ แต่ถ้าชาวบ้านไม่ยอม ท้องถิ่นไม่เห็นด้วยก็ทำไม่ได้
                   คนที่ อบต. เห็นด้วยทั้งหมด อบต. ถามชาวบ้านหรือยัง” (นงลักษณ์






                    บทความที่ผานการพิจารณา
   564   565   566   567   568   569   570   571   572   573   574