Page 591 - kpi17968
P. 591

580




               การสอนโดยมีส่วนร่วม ด้วยการหยิบยกเอาประเด็นปัญหาขึ้นมาให้เกิดการ

               ถกเถียงกันให้เกิดการแสดงความคิดเห็นกัน และไม่ควรใช้วิธีการการบรรยาย
               เนื้อหาสาระของระบอบประชาธิปไตยเพียงอย่างเดียว วิธีการที่จะกระตุ้นให้คน
               เป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยโดยตรง เช่น อาจนำเอานโยบายหรือประเด็น

               ปัญหาบางอย่างขึ้นมาแล้วให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นต่างๆ เช่น ปัญหาเรื่องการ
               แก่งแย่งทรัพยากรดิน น้ำ เรื่องของการบุกรุกพื้นที่ดิน เรื่องข้อเรียกร้องในการ
               ชุมนุมต่างๆ รวมทั้งเรื่องราวต่างๆ เหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ที่สามารถ

               จะพัฒนามาเป็นกรณีศึกษาแล้วให้นักเรียนหรือให้ผู้เรียนได้เข้ามามีส่วนร่วม
               แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ สำหรับครูผู้สอนนั้น ควรจะต้องมีบทบาทเป็นเพียง
               ผู้ชี้แนะในทำนองเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการแสดงความคิดเห็นกัน ซึ่งสอดคล้อง

               กับความเห็นของของ วิชัย ตันศิริ. (2557) ที่ว่าต้องพยายามเอาประเด็นปัญหา
               การเมืองที่เกิดขึ้นมาสู่ห้องเรียน ให้นักเรียนได้อภิปราย โดยที่ครูต้องวางตัว
               เป็นกลาง และคำว่า กลาง หมายความว่า ครูก็ต้องพยายามชี้แนะ แต่ไม่ชี้นำ

               นั่นเอง

                     นอกจากนั้นการใช้วิธีเรียนรู้ด้วยวิธีการสวมบทบาท (Role Play) ซึ่งก็เป็น

               อีกวิธีการสำคัญที่น่าสนใจ เช่น อาจสมมติเหตุการณ์ว่าเกิดมีความขัดแย้งระหว่าง
               ชาวบ้านกับโรงงานในเรื่องปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อมต่างๆ ก็อาจให้ผู้เรียนสมมติ
               ตนแสดงบทบาทเป็นเจ้าของโรงงาน ผู้เรียนอีกคนอาจแสดงบทบาทเป็น

               นักเคลื่อนไหว และอีกคนหนึ่งก็อาจแสดงบทบาทเป็นชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบ
               จากปัญหาดังกล่าว แล้วให้ผู้เรียนทั้งหมดมาทดลองถกปัญหาที่มีอยู่นั้นว่าแต่ละคน
               มีมุมมองอย่างไร และมาร่วมกันแสวงหาแนวทางที่จะตกลงกันให้ได้ การเรียนรู้

               เช่นนี้ย่อมจะทำให้ผู้เรียนกลายเป็นผู้ที่มีวุฒิภาวะ มีความพร้อมที่จะเป็นพลเมือง
               ในระบอบประชาธิปไตย คือเป็นผู้ที่มีความเคยชิน มีความคุ้นชินในการแก้ปัญหา
               โดยเฉพาะการแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่อย่างสันติวิธี ด้วยวิธีการมาแลกเปลี่ยนความ

               คิดเห็นซึ่งกันและกัน ซึ่ง วิชัย ตันศิริ (2557) ให้ข้อสังเกตไว้ว่า ในสังคมไทยนั้น
               ไม่ได้สอนให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นกัน ไม่ได้สอนให้นักเรียนคิดแตกต่างกัน
               เพราะถ้าหากนักเรียนของเราคิดแตกต่างกันด้วยเหตุผลมาตั้งแต่เด็กไม่ทะเลาะกัน

               และไม่บาดหมางน้ำใจกัน ก็จะยอมรับในเรื่องของความแตกต่างทางด้านการเมือง
               ในอนาคตได้





                    บทความที่ผานการพิจารณา
   586   587   588   589   590   591   592   593   594   595   596