Page 594 - kpi17968
P. 594

583




                   11/blog-post.html#!/2011/11/blog-post.html) ดังนั้น วิธีการเรียนการสอนเพื่อ

                   เสริมสร้างค่านิยมของสังคมไทยให้แก่ผู้เรียน จึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นวิธีที่สำคัญ
                   อีกประการในการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองดี ในการสอนค่านิยมของ
                   สังคมไทยนั้นจะต้องสอนให้ผู้เรียนสามารถมองและวิเคราะห์สังเคราะห์เรื่องราวได้

                   อย่างองค์รวม นั่นคือ ต้องมีจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีการบูรณาการ
                   ศาสตร์ต่างๆ ทั้งที่เป็นวิชาทางสังคม ประวัติศาสตร์ และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ
                   วัฒนธรรมต่างๆ ให้เป็นองค์ความรู้รวม แล้วก็นำมาสอนเป็นเรื่องราวในวิชา

                   พื้นฐานได้ ซึ่งสิ่งที่ขาดมิได้ ก็คือต้องมีการบูรณาการประวัติศาสตร์เรื่องราวความ
                   เป็นมาเกี่ยวกับรัฐไทย ทั้งนี้เพราะเรื่องราวทางประวัติศาสตร์เหล่านี้มีความสำคัญ
                   ที่สุด เป็นสิ่งเกี่ยวข้องกับสร้างความเป็นพลเมืองให้เยาวชนได้รู้จักตัวตนของ

                   ตนเอง ตระหนักในคุณค่าก่อให้เกิดความภูมิใจในความเป็นชาติของตน

                         อย่างไรก็ตาม การสอนค่านิยมนั้นไม่อาจจะสอนกันตรงๆได้ แท้ที่จริงแล้ว

                   การเรียนรู้ค่านิยมของบุคคลนั้น จะต้องเริ่มตั้งแต่การเรียนรู้ในครอบครัว ซึ่งถือ
                   เป็นการเรียนรู้ทางบทบาทที่สำคัญที่สุด ทางจิตวิทยาเรียกว่า Role Modeling
                   เป็นลักษณะของการเรียนรู้โดยการเลียนแบบ โดยทั่วไปบุคคลจะเรียนรู้ด้วยวิธี

                   การเลียนแบบจากผู้อื่นที่ตนเองเห็นว่าเป็นบุคคลสำคัญ (Silberman Israela.,
                   2003) อาทิเช่น การเลียนแบบจากพ่อแม่ และบุคคลที่มีชื่อเสียง โดยเฉพาะ
                   การเลียนแบบนักการเมืองในสังคมไทยนั้น วิชัย ตันศิริ. (2557) เห็นว่า

                   นักการเมืองส่วนใหญ่ในบ้านเมืองเรา  ยังไม่อาจเป็นตัวแบบที่ดีให้เยาวชน
                   สามารถเรียนรู้ได้ และเรื่องของการสร้างค่านิยมศาสนาก็ยังเป็นเรื่องสำคัญ
                   อีกประการ ซึ่งยิ่งเราจะสร้างสังคมประชาธิปไตยมากขึ้นเท่าไร เราต้องยิ่งให้ความ

                   สำคัญกับศาสนามากขึ้นเท่านั้น เพราะหากผู้คนเข้าใจถึงแก่นคำสอนของศาสนา
                   ได้อย่างแท้จริง ศาสนาก็จะเป็นตัวที่สร้างอุปนิสัยที่ดีงามและสร้างเพดานของความ
                   โลภของผู้คนให้ลดน้อยลงไป นอกจากนั้นศาสนายังเป็นพลังสำคัญที่เชื่อมโยง

                   บุคคลในกลุ่มศาสนาเดียวกัน และในขณะเดียวกันอาจทำให้เกิดความแตกต่าง
                   ระหว่างศาสนาต่างๆ ได้ ดังนั้นวิธีการสอนที่จะให้เกิดการเรียนรู้การยอมรับ
                   ศาสนาต่างๆ ในสถานศึกษาก็เป็นเรื่องสำคัญยิ่งอีกประการ แต่ผู้เขียนมีความเห็นว่า

                   ประเด็นเรื่องการยอมรับความแตกต่างทางศาสนาสำหรับเมืองไทยนั้น มักไม่ค่อย
                   เป็นปัญหามากเท่าไรนัก เนื่องจากสังคมไทยมีพุทธศาสนาเป็นเอกลักษณ์สำคัญที่





                                                                 บทความที่ผานการพิจารณา
   589   590   591   592   593   594   595   596   597   598   599