Page 593 - kpi17968
P. 593
582
ให้มีเป้าหมายร่วมกันเป็นชาติ เป็นการเชื่อมโยงกันทางความรู้สึกว่าเราเป็นส่วน
หนึ่งของประเทศชาติ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญในการที่จะให้เด็กๆเข้าใจทั้งในระดับ
ของโรงเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับชุมชนต่างๆ ด้วย ในแนวหนึ่งของการสร้าง
ความเป็นชุมชนเดียวกันนี้คือ วิธีการเรียนการสอนที่จะทำให้คนรู้จักที่จะแบ่งปัน
พลัง (Share Power) ที่จะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน (วิชัย ตันศิริ, 2557) ซึ่งวิธีนี้มักจะ
จัดอยู่ในรูปแบบของการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมเป็นสื่อ ปัจจุบันนิยมจัดกัน
ค่อนข้างมากในสถานศึกษาต่างๆนั้น เป็นการให้ผู้เรียนหรือนักเรียนเข้าไปมีส่วน
ร่วมในชุมชน (จุรีพร กาญจนการุณ, 2558)
การให้ผู้เรียนเข้าไปมีส่วนร่วมในชุมชนนั้น กล่าวได้ว่าเป็นการศึกษาที่จัด
ขึ้นโดยมีลักษณะให้นักเรียนเข้าไปรับใช้ชุมชน ซึ่งเรียกว่า Service Learning
การเรียนรู้ลักษณะนี้นั้น หากว่าจะให้นักเรียนไปรับใช้ชุมชน หรือไปทำงานเกี่ยว
กับการพัฒนาชุมชนอย่างเดียวคงจะไม่เพียงพอที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ได้ จำเป็น
ต้องเป็นการเรียนการสอนที่ครูผู้สอนจะต้องมีหน้าที่ และบทบาทสำคัญที่จะนำเอา
บทเรียนที่นักเรียนเข้าไปมีส่วนร่วมนั้นมาสังคายนา หรือมาถอดบทเรียนกัน
โดยให้นักเรียนเข้าไปมีส่วนร่วมก่อน เป็นวิธีที่เรียนอย่างภาคปฏิบัติก่อน แล้วจึง
ค่อยมาถอดบทเรียน หรืออาจดำเนินไปพร้อมๆ กัน นั่นคือ ภาคทฤษฎีกับ
ภาคปฏิบัติจะต้องไปด้วยกันไม่ควรจะแยกภาคทฤษฎีกับภาคปฏิบัติออกจากกัน
(ชัยอนันต์ สมุทวณิช, 2557) อย่างไรก็ตามผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า สิ่งเหล่านี้
อาจสามารถจะจัดเป็นกิจกรรมการเรียนรู้แบบนอกหลักสูตรได้ เช่นการจัด
กิจกรรมจิตอาสาฯในรูปแบบเป็นชมรมต่างๆของนักเรียนนักศึกษา โดยมีครูที่
ปรึกษาฯทำหน้าที่สวมบทบาทสำคัญที่จะช่วยกันถอดบทเรียนร่วมกันกับนักเรียน
นักศึกษา เป็นต้น
สำหรับวิธีการเรียนการสอนที่สำคัญและยากที่สุดก็คือ การสอนค่านิยม
(Value) เพราะค่านิยมเป็นสิ่งที่บุคคลหรือสังคมยึดถือเป็นเครื่องช่วยตัดสินใจและ
กำหนดการกระทำของตนเอง(http://dictionary.san- ook.com/search/dict-th-th-
royal-institute) ทั้งนี้ค่านิยมยังเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวพันกับเรื่องของวัฒนธรรม
ซึ่งเป็นเรื่องของความแตกต่างระหว่างสังคมตะวันออกกับสังคมตะวันตก และ
สังคมต่างๆ ที่แตกต่างกันไป (http://phraewwnit-bianlae.blogspot.com/2011/
บทความที่ผานการพิจารณา